ภาพกิจกรรม

ภาพกิจกรรม

วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ใบความรู้รายวิชา ศิลปะศึกษา

ใบความรู้รายวิชา ศิลปะศึกษา

 เรื่อง    จุด เส้น สี แสง เงา รูปร่าง และรูปทรง

จุด                       ………………………………………
คือ องค์ประกอบที่เล็กที่สุด จุดเป็นสิ่งที่บอกตำแหน่งและทิศทางได้การนำจุดมาเรียงต่อกันให้เป็นเส้น การรวมกันของจุดจะเกิดน้ำหนักที่ให้ปริมาตรแก่รูปทรง เป็นต้น





เส้น
หมายถึง จุดหลายๆจุดที่เรียงชิดติดกันเป็นแนวยาว หรือการลากเส้นจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่ง
ในทิศทางที่แตกต่างกัน จะเป็นทิศมุม 45 องศา 90 องศา 180 องศาหรือมุมใดๆ การสลับทิศทางของเส้นที่ลากทำให้เกิดเป็นลักษณะต่าง ๆ ในทางศิลปะเส้นมีหลายชนิดด้วยกันโดยจำแนกออกได้เป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ
ลักษณะ เช่น ตั้ง นอน เฉียง โค้ง เส้นหยัก เส้นซิกแซก
ความรู้สึกที่มีต่อเส้น
เส้นเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญในการสร้างสรรค์  เส้นสามารถแสดงให้เกิดความหมายของภาพและให้ความรู้สึกได้ตามลักษณะของเส้น เส้นที่เป็นพื้นฐาน ได้แก่  เส้นตรงและเส้นโค้ง
จากเส้นตรงและเส้นโค้งสามารถนำมาสร้างให้เกิดเป็น เส้นใหม่ที่ให้ความรู้สึกที่แตกต่างกันออกไปได้ดังนี้
เส้นตรงแนวตั้ง  ให้ความรู้สึกแข็งแรง  สูงเด่น  สง่างาม  น่าเกรงขาม




เส้นตรงแนวนอน  ให้ความรู้สึกสงบราบเรียบ  กว้างขวาง  การพักผ่อน  หยุดนิ่ง




เส้นตรงแนวเฉียง  ให้ความรู้สึกไม่ปลอดภัย  การล้ม  ไม่หยุดนิ่ง



เส้นตัดกัน   ให้ความรู้สึกประสานกัน  แข็งแรง


เส้นโค้ง  ให้ความรู้สึกอ่อนโยนนุ่มนวล



เส้นคลื่น  ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหวไหลเลื่อน  ร่าเริง  ต่อเนื่อง



เส้นประ  ให้ความรู้สึกขาดหาย  ลึกลับ  ไม่สมบรูณ์  แสดงส่วนที่มองไม่เห็น



เส้นขด  ให้ความรู้สึกหมุนเวียนมึนงง



เส้นหยัก   ให้ความรู้สึกขัดแย้ง  น่ากลัว  ตื่นเต้น  แปลกตา





นักออกแบบนำเอาความรู้สึกที่มีต่อเส้นที่แตกต่างกันมาใช้ในงานศิลปะประยุกต์  โดยใช้เส้นมาเปลี่ยนรูปร่างของตัวอักษร  เพื่อให้เกิดความรู้สึกเคลื่อนไหวและทำให้สื่อความหมายได้ดียิ่งขึ้น

สี
หมายถึง แสงที่มากระทบวัตถุแล้วสะท้อนเข้าตาเรา ทำให้เห็นเป็นสีต่างๆ
ทฤษฎีสี หมายถึง หลักวิชาเกี่ยวกับสีที่สามารถมองเห็นได้ด้วยสายตา   เรารับรู้สีได้เพราะ เมื่อสามร้อยกว่าปีที่ผ่านมา ไอแซก นิวตัน ได้ค้นพบ ว่า แสงสีขาวจาก ดวงอาทิตย์เมื่อหักเห ผ่านแท่งแก้วสามเหลี่ยม
( prism) แสงสีขาวจะกระจายออกเป็นสีรุ้ง เรียกว่า สเปคตรัม มี 7 สี ได้แก่ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง ส้ม แดง  และได้มีกำหนดให้เป็นทฤษฎีสีของแสงขึ้น ความจริงสีรุ้งเป็นปรากฏการณ์ ตาม ธรรมชาติ ซึ่งเกิดขึ้น และพบเห็นกันบ่อยๆ อยู่แล้ว โดยเกิดจากการหักเห ของ แสงอาทิตย์หรือ แสงสว่าง เมื่อผ่าน ละอองน้ำในอากาศ ซึ่งลักษณะกระทบต่อสายตาให้เห็นเป็นสี มีผลถึงจิตวิทยา คือมีอำนาจให้เกิดความเข้มของแสง ที่อารมณ์ และความรู้สึกได้ การที่ได้เห็นสีจากสายตา สายตาจะส่งความรู้สึกไปยังสมองทำให้เกิดความรู้สึกต่างๆ ตาม อิทธิพลของสี เช่น สดชื่น เร่าร้อน เยือกเย็น หรือตื่นเต้น มนุษย์เราเกี่ยวข้องกับสีต่างๆ อยู่ตลอดเวลาเพราะ ทุกสิ่ง ที่อยู่รอบตัวนั้น ล้วนแต่มีสีสันแตกต่างกันมากมาย
แม่สี
นักวิชาการสาขาต่างๆ ได้ศึกษาค้นคว้าเรื่องสี จนเกิดเป็นทฤษฎีสี ตามหลักการของนักวิชาการสาขานั้นๆ ดังนี้
แม่สีของนักฟิสิกส์ (แม่สีของแสง) (spectrum primaries)
คือสีที่เกิดจากการผสมกันของคลื่นแสง มีแม่สี 3 สี คือ





แม่สีของนักเคมี (pigmentary primaries) คือสีที่ใช้ในวงการอุตสาหกรรมและวงการศิลปะ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สีวัตถุธาตุ ที่เรากำลังศึกษาอยู่ใน ขณะนี้ โดยใช้ในการเขียนภาพเกี่ยวกับพาณิชยศิลป์ ภาพโฆษณา ภาพประกอบเรื่อง ซึ่งในหลักการเดียวกันทั้งสิ้น   ประกอบด้วย

สีขั้นที่ 1 (Primary Color) คือ สีพื้นฐาน มีแม่สี 3 สี ได้แก่
1. สีเหลือง (Yellow)
2. สีแดง (Red)
3. สีน้ำเงิน (Blue)

สีขั้นที่ 2 (Secondary color)
 คือ สีที่เกิดจากสีขั้นที่ 1 หรือแม่สีผสมกันในอัตราส่วนที่เท่ากัน จะทำให้เกิดสีใหม่ 3 สี ได้แก่
1. สีส้ม (Orange)    เกิดจาก สีแดง (Red)  ผสมกับสีเหลือง (Yellow)
2. สีม่วง (Violet)     เกิดจาก สีแดง (Red)  ผสมกับสีน้ำเงิน (Blue)
3. สีเขียว (Green)   เกิดจาก สีเหลือง (Yellow) ผสมกับสีน้ำเงิน (Blue)

สีขั้นที่ 3 (Intermediate Color)
คือสีที่เกิดจากการผสมกันระหว่างสีของแม่สีกับสีขั้นที่ 2 จะเกิดสีขึ้นอีก 6 สี ได้แก่
1. สีน้ำเงินม่วง ( Violet-blue)        เกิดจาก สีน้ำเงิน (Blue) ผสมสีม่วง (Violet)
2. สีเขียวน้ำเงิน ( Blue-green)      เกิดจาก สีน้ำเงิน (Blue) ผสมสีเขียว (Green)
3. สีเหลืองเขียว ( Green-yellow)  เกิดจาก สีเหลือง(Yellow) ผสมกับสีเขียว (Green)
4. สีส้มเหลือง ( Yellow-orange)   เกิดจาก สีเหลือง (Yellow) ผสมกับสีส้ม (Orange)
5. สีแดงส้ม ( Orange-red)          เกิดจาก สีแดง (Red) ผสมกับสีส้ม (Orange)
6. สีม่วงแดง ( Red-violet)           เกิดจาก สีแดง (Red) ผสมกับสีม่วง (Violet)
เราสามารถผสมสีเกิดขึ้นใหม่ได้อีกมากมายหลายร้อยสีด้วยวิธีการเดียวกันนี้ ตามคุณลักษณะของสีที่จะกล่าวต่อไป

จะเห็นได้ว่าทฤษฎีสีดังกล่าวมีผลให้เราสามารถนำมาใช้เป็นหลักในการเลือกสรรสีสำหรับงานสร้างสรรค์ ของเราได้ ซึ่งงานออกแบบมิได้ถูกจำกัดด้วยกรอบความคิดของทฤษฎีตามหลักวิชาการเท่านั้น แต่เราสามารถ คิดออกนอกกรอบแห่งทฤษฎีนั้นๆ ได้ เท่าที่มันสมองของเราจะเค้นความคิดสร้างสรรค์ออกมาได้
คุณลักษณะของสีมี 3 ประการ คือ
1. สีแท้ หรือความเป็นสี (Hue ) หมายถึง สีที่อยู่ในวงจรสีธรรมชาติ ทั้ง 12 สี (ดูภาพสี 12 สีในวงจรสี ด้านซ้ายมือประกอบ) สี ที่เราเห็นอยู่ทุกวันนี้แบ่งเป็น 2 วรรณะ โดยแบ่งวงจรสีออกเป็น 2 ส่วน จากสีเหลืองวนไปถึงสีม่วง คือ
1. สีร้อน (Warm Color) ให้ความรู้สึกรุนแรง ร้อน ตื่นเต้น ประกอบด้วย สีเหลือง สีเหลืองส้ม สีส้ม สีแดงส้ม สีแดง สีม่วงแดง สีม่วง
2. สีเย็น (Cool Color) ให้ความรู้สึกเย็น สงบ สบายตาประกอบด้วย สีเหลือง สีเขียวเหลือง
สีเขียว สีน้ำเงินเขียว สีน้ำเงิน สีม่วงน้ำเงิน สีม่วง  เราจะเห็นว่า สีเหลือง และสีม่วง เป็นสีที่อยู่ได้ทั้ง 2 วรรณะ คือเป็นสีกลาง เป็นได้ทั้งสีร้อน และสีเย็น
2. ความจัดของสี (Intensity) หมายถึง ความสด หรือความบริสุทธิ์ของสีใดสีหนึ่ง สีที่ถูกผสมด้วย สีดำจนหม่นลง ความจัด หรือความบริสุทธิ์จะลดลง ความจัดของสีจะเรียงลำดับจากจัดที่สุด ไปจน หม่นที่สุด
ได้หลายลำดับ ด้วยการค่อยๆ เพิ่มปริมาณของสีดำที่ผสมเข้าไปทีละน้อยจนถึงลำดับที่ความจัดของสีมีน้อยที่สุด คือเกือบเป็นสีดำ
3. น้ำหนักของสี (Values) หมายถึง สีที่สดใส (Brightness) สีกลาง (Grayness) สีทึบ(Darkness) ของ
สีแต่ละสี สีทุกสีจะมีน้ำหนักในตัวเอง ถ้าเราผสมสีขาวเข้าไปในสีใดสีหนึ่ง สีนั้นจะสว่างขึ้น หรือมีน้ำหนักอ่อนลงถ้าเพิ่มสีขาวเข้าไปทีละน้อยๆ ตามลำดับ เราจะได้น้ำหนักของสีที่เรียงลำดับจากแก่สุด ไปจนถึงอ่อนสุดน้ำหนักอ่อนแก่ของสีก็ได้ เกิดจากการผสมด้วยสีขาว เทา และ ดำ น้ำหนักของสีจะลดลงด้วยการใช้สีขาวผสม
( tint) ซึ่งจะทำให้ เกิดความรู้สึกนุ่มนวล อ่อนหวาน สบายตา น้ำหนักของสีจะเพิ่มขึ้นปานกลางด้วยการใช้สีเทาผสม
( tone) ซึ่งจะทำให้ความเข้มของสีลดลง เกิดความรู้สึก ที่สงบ ราบเรียบ และน้ำหนักของสีจะเพิ่มขึ้นมากขึ้นด้วยการใช้สีดำผสม ( shade) ซึ่งจะทำให้ความเข้มของสีลดความสดใสลง เกิดความรู้สึกขรึม ลึกลับ น้ำหนักของสียังหมายถึงการเรียงลำดับน้ำหนักของสีแท้ด้วยกันเอง โดยเปรียบเทียบ น้ำหนักอ่อนแก่กับสีขาว – ดำ
เราสามารถเปรียบเทียบระหว่างภาพสีกับภาพขาวดำได้อย่างชัดเจนเมื่อนำภาพสีที่เราเห็นว่ามีสีแดงอยู่หลายค่าทั้งอ่อน กลาง แก่ ไปถ่ายเอกสารขาว-ดำ เมื่อนำมาดูจะพบว่า สีแดงจะมีน้ำหนักอ่อน แก่ตั้งแต่ขาว เทา ดำ
นั่นเป็นเพราะว่าสีแดงมีน้ำหนักของสีแตกต่างกันนั่นเอง
สีต่างๆ ที่เราสัมผัสด้วยสายตา จะทำให้เกิดความรู้สึกขึ้นภายในต่อเรา ทันทีที่เรามองเห็นสี ไม่ว่าจะเป็น การแต่งกาย บ้านที่อยู่อาศัย เครื่องใช้ต่างๆ แล้วเราจะ ทำอย่างไร จึงจะใช้สีได้อย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับหลักจิตวิทยา เราจะต้องเข้าใจว่าสีใดให้ความรู้สึก ต่อมนุษย์อย่างไร ซึ่งความรู้สึกเกี่ยวกับสี สามารถจำแนกออกได้ดังนี้
สีแดง ให้ความรู้สึกร้อน รุนแรง กระตุ้น ท้าทาย เคลื่อนไหว ตื่นเต้น เร้าใจ มีพลัง ความอุดมสมบูรณ์ ความมั่งคั่ง ความรัก ความสำคัญ อันตรายสีแดงชาด จะทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์
สีส้ม ให้ความรู้สึก ร้อน ความอบอุ่น ความสดใส มีชีวิตชีวา วัยรุ่น ความคึกคะนอง การปลดปล่อย ความเปรี้ยว การระวังสีเหลือง ให้ความรู้สึก แจ่มใส ความร่าเริง ความเบิกบานสดชื่น ชีวิตใหม่ ความสด ใหม่ ความสุกสว่าง การแผ่กระจายอำนาจบารมีสีเขียว ให้ความรู้สึกงอกงาม สดชื่น สงบ เงียบ ร่มรื่น ร่มเย็น
การพักผ่อน การผ่อนคลายธรรมชาติ ความปลอดภัย ปกติ ความสุข ความสุขุม เยือกเย็น
สีเขียวแก่ จะทำให้เกิดความรู้สึกเศร้าใจความแก่ชรา สีน้ำเงิน ให้ความรู้สึกสงบ สุขุม สุภาพ หนักแน่น เคร่งขรึม เอาการเอางาน ละเอียด รอบคอบ สง่างาม มีศักดิ์ศรี สูงศักดิ์ เป็นระเบียบถ่อมตน
สีฟ้า ให้ความรู้สึก ปลอดโปร่งโล่ง กว้าง เบา โปร่งใส สะอาด ปลอดภัย ความสว่าง ลมหายใจ ความเป็นอิสรเสรีภาพ การช่วยเหลือ แบ่งปัน
สีคราม จะทำให้เกิดความรู้สึกสงบ
สีม่วง ให้ความรู้สึก มีเสน่ห์ น่าติดตาม เร้นลับ ซ่อนเร้น มีอำนาจ มีพลังแฝงอยู่ ความรัก ความเศร้า ความผิดหวัง ความสงบ ความสูงศักดิ์
สีน้ำตาล ให้ความรู้สึกเก่า หนัก สงบเงียบ
สีขาว ให้ความรู้สึกบริสุทธิ์ สะอาด ใหม่ สดใส
สีดำ ให้ความรู้สึกหนัก หดหู่ เศร้าใจ ทึบตัน
สีชมพู ให้ความรู้สึก อบอุ่น อ่อนโยน นุ่มนวล อ่อนหวาน ความรัก เอาใจใส่ วัยรุ่น หนุ่มสาว ความน่ารักความสดใส
สีไพล จะทำให้เกิดความรู้สึกกระชุ่มกระชวย ความเป็นหนุ่มสาว
สีเทา ให้ความรู้สึก เศร้า อาลัย ท้อแท้ ความลึกลับ ความหดหู่ ความชรา ความสงบ ความเงียบ สุภาพ สุขุม ถ่อมตน


สีทอง ให้ความรู้สึก ความหรูหรา โอ่อ่า มีราคา สูงค่า สิ่งสำคัญ ความเจริญรุ่งเรือง ความสุข ความมั่งคั่ง ความร่ำรวย การแผ่กระจาย
จากความรู้สึกดังกล่าว เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ในทุกเรื่อง และเมื่อต้องการสร้างผลงาน ที่เกี่ยวกับการใช้สี เพื่อที่จะได้ผลงานที่ตรงตามความต้องการในการสื่อความหมาย และจะช่วยลดปัญหาในการ ตัดสินใจที่จะเลือกใช้สีต่างๆได้ เช่น
1. ใช้ในการแสดงเวลาของบรรยากาศในภาพเขียน เพราะสีบรรยากาศในภาพเขียนนั้นๆ จะแสดงให้รู้ว่า เป็นภาพตอนเช้า ตอนกลางวัน หรือตอนบ่าย เป็นต้น
2. ในด้านการค้า คือ ทำให้สินค้าสวยงาม น่าซื้อหา นอกจากนี้ยังใช้กับงานโฆษณา เช่น โปสเตอร์ต่างๆ ช่วยให้จำหน่ายสินค้าได้มากขึ้น
3. ในด้านประสิทธิภาพของการทำงาน เช่น โรงงานอุตสาหกรรม ถ้าทาสีสถานที่ทำงานให้ถูกหลักจิตวิทยา จะเป็นทางหนึ่งที่ช่วยสร้างบรรยากาศให้น่าทำงาน คนงานจะทำงานมากขึ้น มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงขึ้น
4. ในด้านการตกแต่ง สีของห้อง และสีของเฟอร์นิเจอร์ ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความสว่างของห้อง รวมทั้งความสุขในการใช้ห้อง ถ้าเป็นโรงเรียนเด็กจะเรียนได้ผลดีขึ้น ถ้าเป็นโรงพยาบาลคนไข้จะหายเร็วขึ้น
สร้างสรรค์งานออกแบบจะเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้สีโดยตรง มัณฑนากรจะคิดค้นสีขึ้นมาเพื่อใช้ในงานตกแต่ง คนออกแบบฉากเวทีการแสดงจะคิดค้นสีเกี่ยวกับแสง จิตรกรก็จะคิดค้นสีขึ้นมาระบายให้เหมาะสมกับ ความคิด และจินตนาการของตน แล้วตัวเราจะคิดค้นสีขึ้นมาเพื่อความงาม ความสุข สำหรับเรามิได้หรือ
สีที่ใช้สำหรับการออกแบบนั้น ถ้าเราจะใช้ให้เกิดความสวยงามตรงตามความต้องการของเรา มีหลักในการใช้กว้างๆ อยู่ 2 ประการ คือ การใช้สีกลมกลืนกัน และ การใช้สีตัดกัน
1.  การใช้สีกลมกลืนกัน
การใช้สีให้กลมกลืนกัน เป็นการใช้สีหรือน้ำหนักของสีให้ใกล้เคียงกัน หรือคล้ายคลึงกัน เช่น การใช้สีแบบเอกรงค์ เป็นการใช้สีสีเดียวที่มีน้ำหนักอ่อนแก่หลายลำดับ
การใช้สีข้างเคียง เป็นการใช้สีที่เคียงกัน 2 – 3 สี ในวงสี เช่น สีแดง สีส้มแดง และสีม่วงแดง การใช้สีใกล้เคียง เป็นการใช้สีที่อยู่เรียงกันในวงสีไม่เกิน 5 สี ตลอดจนการใช้สีวรรณะร้อนและวรรณะเย็น ( warm tone colors and cool tone colors) ดังได้กล่าวมาแล้ว
2. การใช้สีตัดกัน สีตัดกันคือสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงจรสี (ดูภาพวงจรสี ด้านซ้ายมือประกอบ) การใช้สีให้ตัดกันมีความจำเป็นมาก ในงานออกแบบ เพราะช่วยให้เกิดความน่าสนใจ ในทันทีที่พบเห็น สีตัดกันอย่างแท้จริงมี อยู่ด้วยกัน 6 คู่สี คือ
1. สีเหลือง ตรงข้ามกับ สีม่วง
2. สีส้ม ตรงข้ามกับ สีน้ำเงิน
3. สีแดง ตรงข้ามกับ สีเขียว
4. สีเหลืองส้ม ตรงขามกับ สีม่วงน้ำเงิน
5. สีส้มแดง ตรงข้ามกับ น้ำเงินเขียว
6. สีม่วงแดง ตรงข้ามกับ สีเหลืองเขียว
การใช้สีตัดกัน ควรคำนึงถึงความเป็นเอกภาพด้วย วิธีการใช้มีหลายวิธี เช่น ใช้สีให้มีปริมาณต่างกัน เช่น ใช้สีแดง 20 % สีเขียว 80% หรือ ใช้เนื้อสีผสมในกันและกัน หรือใช้สีหนึ่งสีใดผสมกับสีคู่ที่ตัดกัน ด้วยปริมาณเล็กน้อย รวมทั้งการเอาสีที่ตัดกันมาทำให้เป็นลวดลายเล็ก ๆ สลับกัน ในผลงานชิ้นหนึ่ง อาจจะใช้สีให้กลมกลืนกันหรือตัดกันเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรืออาจจะใช้พร้อมกันทั้ง 2 อย่าง ทั้งนี้แล้วแต่ความต้องการ และความคิดสร้างสรรค์ของเรา ไม่มีหลักการ หรือรูปแบบที่ตายตัว
ในงานออกแบบ หรือการจัดภาพ หากเรารู้จักใช้สีให้มีสภาพโดยรวมเป็นวรรณะร้อน หรือวรรณะเย็น เราจะ สามารถควบคุม และสร้างสรรค์ภาพให้เกิดความประสานกลมกลืน งดงามได้ง่ายขึ้น เพราะสีมีอิทธิพลต่อ มวล ปริมาตร และช่องว่าง สีมีคุณสมบัติที่ทำให้เกิดความกลมกลืน หรือขัดแย้งได้ สีสามารถขับเน้นให้ให้เกิด จุดเด่น และการรวมกันให้เกิดเป็นหน่วยเดียวกันได้ เราในฐานะผู้ใช้สีต้องนำหลักการต่างๆ ของสีไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้อง กับเป้าหมายในงานของเรา เพราะสีมีผลต่อการออกแบบ คือ
1. สร้างความรู้สึก สีให้ความรู้สึกต่อผู้พบเห็นแตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ และภูมิหลัง ของแต่ละคน สีบางสีสามารถรักษาบำบัดโรคจิตบางชนิดได้ การใช้สีภายใน หรือภายนอกอาคาร จะมีผลต่อการ สัมผัส และสร้างบรรยากาศได้
2. สร้างความน่าสนใจ สีมีอิทธิพลต่องานศิลปะการออกแบบ จะช่วยสร้างความประทับใจ และความน่าสนใจเป็นอันดับแรกที่พบเห็น      
3. สีบอกสัญลักษณ์ของวัตถุ ซึ่งเกิดจากประสบการณ์ หรือภูมิหลัง เช่น สีแดงสัญลักษณ์ของไฟ หรืออันตราย สีเขียวสัญลักษณ์แทนพืช หรือความปลอดภัย เป็นต้น
4. สีช่วยให้เกิดการรับรู้ และจดจำ งานศิลปะการออกแบบต้องการให้ผู้พบเห็นเกิดการจดจำ
ในรูปแบบ และผลงาน หรือเกิดความประทับใจ การใช้สีจะต้องสะดุดตา และมีเอกภาพ

แสงและเงา
แสงและเงา หมายถึง แสงที่ส่องมากระทบพื้นผิวที่มีสีอ่อนแก่และพื้นผิวสูงต่ำ โค้งนูนเรียบหรือขรุขระ ทำให้ปรากฏแสงและเงาแตกต่างกัน
ตัวกำหนดระดับของค่าน้ำหนัก  ความเข้มของเงาจะขึ้นอยู่กับความเข้มของแสง  ในที่ที่มีแสงสว่างมาก เงาจะเข้มขึ้น   และในที่ที่มีแสงสว่างน้อย เงาจะไม่ชัดเจน ในที่ที่ไม่มีแสงสว่างจะไม่มีเงา และเงาจะอยู่ในทางตรงข้ามกับแสงเสมอ  ค่าน้ำหนักของแสงและเงาที่เกิดบนวัตถุ     สามารถจำแนกเป็นลักษณะที่ ต่าง ๆ ได้ดังนี้




1. บริเวณแสงสว่างจัด  (Hi-light)  เป็นบริเวณที่อยู่ใกล้แหล่งกำเนิดแสงมากที่สุด   จะมีความสว่างมากที่สุด ในวัตถุที่มีผิวมันวาวจะสะท้อนแหล่งกำเนิดแสงออกมาให้เห็นได้ชัด
2. บริเวณแสงสว่าง  (Light) เป็นบริเวณที่ได้รับแสงสว่าง รองลงมาจากบริเวณแสงสว่าง  จัด เนื่องจากอยู่ห่างจากแหล่งกำเนิดแสงออกมา และเริ่มมีค่าน้ำหนักอ่อน ๆ
3. บริเวณเงา (Shade)  เป็นบริเวณที่ไม่ได้รับแสงสว่าง     หรือเป็นบริเวณที่ถูกบดบังจาก  แสงสว่าง ซึ่งจะมีค่าน้ำหนักเข้มมากขึ้นกว่าบริเวณแสงสว่าง
4. บริเวณเงาเข้มจัด (Hi-Shade) เป็นบริเวณที่อยู่ห่างจากแหล่งกำเนิดแสงมากที่สุด หรือ  เป็นบริเวณที่ถูกบดบังมาก ๆ หลาย ๆ ชั้น จะมีค่าน้ำหนักที่เข้มมากไปจนถึงเข้มที่สุด
5. บริเวณเงาตกทอด เป็นบริเวณของพื้นหลังที่เงาของวัตถุทาบลงไป เป็นบริเวณเงาที่อยู่ ภายนอกวัตถุ และจะมีความเข้มของค่าน้ำหนักขึ้นอยู่กับ ความเข้มของเงา น้ำหนักของพื้น หลัง ทิศทางและระยะของเงา
ความสำคัญของค่าน้ำหนัก
1. ให้ความแตกต่างระหว่างรูปและพื้น หรือรูปทรงกับที่ว่าง
2. ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว
3. ให้ความรู้สึกเป็น 2 มิติ แก่รูปร่าง และความเป็น 3 มิติแก่รูปทรง
4. ทำให้เกิดระยะความตื้น - ลึก และระยะใกล้ - ไกลของภาพ
5. ทำให้เกิดความกลมกลืนประสานกันของภาพ



















ใบความรู้
เรื่อง ธรรมชาติกับทัศนศิลป์ 

ธรรมชาติกับทัศนศิลป์
มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ
ธรรมชาติ สามารถบอกถึงประสบการณ์ และสิ่งต่างๆที่ผ่านมาในอดีตได้ ซึ่งถือว่า “ธรรมชาติ” เป็น “ครู” ของมนุษย์
เมื่อมนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ มนุษย์ก็จะพิจารณาสิ่งต่าง ๆ จากธรรมชาติที่ตนมีส่วนร่วมอยู่  แล้วนำมาดัดแปลงแก้ไขใหม่โดยพยายามทำตามวัสดุนั้นๆ และเลือกหาวิธีการอันเหมาะสมตามทักษะความชำนาญที่ตนมีอยู่ เพื่อสร้างเป็นผลงานของตนขึ้น  ดังนั้นธรรมชาติจึงมีความหมายอย่างยิ่งสำหรับมนุษย์
มนุษย์อาศัยธรรมชาติในการดำรงชีวิต  ผลผลิตส่วนใหญ่ที่ใช้ในการดำรงชีวิตเกือบทั้งหมดก็มาจากธรรมชาติทั้งสิ้น  และนี่คือวัสดุจากธรรมชาติที่มนุษย์นำมาสร้างสรรค์
1. พืช
2. หิน กรวด
3. ทราย
4. ดิน
การนำธรรมชาติมาออกแบบผสมผสานกับงานศิลปะ
(ผลงานจากถนนคนเดินดอทคอม/เชียงใหม่)
  ความคิดสร้างสรรค์ การตกแต่งร่างกาย และที่อยู่อาศัย
มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์อยู่ตลอดเวลา  ตามแต่ประสบการณ์มากน้อยของแต่ละบุคคล การออกแบบเป็นส่วนหนึ่งของความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะของมนุษย์
1. ออกแบบตกแต่งที่อยู่อาศัย เป็นการออกแบบทุกอย่างภายในและบริเวณรอบบ้านให้สวยงาม สะดวกแก่การใช้สอย โดยใช้วัสดุที่มีอยู่หรือจัดหามาโดยใช้หลักองค์ประกอบศิลป์
2. ออกแบบให้กับร่างกาย  เป็นการออกแบบร่างกายและสิ่งตกแต่งร่างการให้สวยงาม เหมาะสม และถูกใจ เช่นการออกแบบทรงผม เสื้อผ้า  เครื่องประดับ  การใช้เครื่องสำอาง  โดยอาศัยหลักการทางศิลปะและความคิดสร้างสรรค์
3. ออกแบบสำนักงาน ห้องทำงาน โต๊ะเก้าอี้ แจกัน ในสถานที่ทำงานอาจได้รับการออกแบบและสร้างสรรค์ให้น่าทำงานและสะดวกในการใช้สอย
ความคิดสร้างสรรค์ในงานตกแต่ง
การออกแบบตกแต่ง เป็นการออกแบบการตกแต่งพื้นที่ภายใน และภายนอกอาคาร โดยใช้ความสำคัญของ จิตวิทยาสิ่งแวดล้อม สถาปัตยกรรม การออกแบบผลิตภัณฑ์ เข้าด้วยกัน
จิตวิทยาสิ่งแวดล้อม หมายถึง  สิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวบุคคล ทำหน้าที่เป็นสิ่งเร้าในอันที่จะทำให้บุคคลแสดงปฏิกิริยาตอบสนอง และมีอิทธิพลต่อพัฒนาการของบุคคลนั้นๆ
ในทางจิตวิทยานั้น สิ่งแวดล้อม คือผลรวมของการกระตุ้นจากสิ่งเร้าที่บุคคลได้รับ และมีผลกระทบต่อบุคคลนั้นตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิจนกระทั่งเสียชีวิต
สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อความเจริญงอกงามหรือความเสื่อมต่อพัฒนาการของบุคคลได้เป็นอย่างยิ่ง อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมมีผลกระทบต่อเราได้ 2 ลักษณะ คือ
1. มีอำนาจบังคับต่อบุคคลโดยตรง ไม่ว่าบุคคลนั้นสนใจที่จะเรียนรู้เพื่อปฏิบัติหรือไม่ สิ่งแวดล้อมเหล่านี้ ได้แก่ ธรรมชาติ อุณหภูมิ อากาศ อาหาร เป็นต้น
2. บุคคลเกิดการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมนั้นๆ แล้วนำมาปฏิบัติ สิ่งแวดล้อมเหล่านี้ ได้แก่ พฤติกรรมทางสังคม ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ศาสนา กฎหมาย เป็นต้น
             สถาปัตยกรรม หมายถึง การออกแบบก่อสร้างอาคาร สถานที่ต่าง ๆ เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ด้านที่อยู่อาศัย และการอยู่ร่วมกันเพื่อประกอบกิจกรรมด้านสาธารณะ ดังนั้นงานสถาปัตยกรรมจึงแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ อาคารบ้านเรือน ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัย และอาคารสาธารณะ เช่น สนามกีฬา หอประชุม สถานีรถไฟ วัดโบสถ์ วิหาร เจดีย์ สถูป พีระมิด เป็นต้น
                 การออกแบบผลิตภัณฑ์ หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับรูปร่างลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างไปจากเดิม
การนำหลักวิชาความรู้ทั้ง 3 อย่างมารวมกันและแปรเปลี่ยนออกมาในลักษณะงานออกแบบที่อาศัยพื้นฐานความรู้ด้านทัศนศิลป์จนเกิดเป็นงานออกแบบตกแต่งซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. ออกแบบตกแต่งภายใน ได้แกการออกแบบตกแต่งภายในอาคารทุกประเภททั้งหมด  เช่นการออกแบบตกแต่งภายในบ้าน  ภายในสำนักงาน  ภายในอาคารสาธารณะ  แม้นกระทั้งการออกแบบตกแต่งภายในยายพาหนะเป็นต้น

   การออกแบบตกแต่งภายในที่พักอาศัย
    การออกแบบตกแต่งหน้าร้านค้า
      การออกแบบตกแต่งภายในสำนักงาน

การออกแบบตกแต่งภายในยานพาหนะ

การออกแบบตกแต่งภายนอก  ได้แก่การออกแบบตกแต่งสวนและบริเวณภายนอกอาคาร รวมทั้งการออกแบบภูมิทัศน์ในส่วนพื้นที่สาธารณะเช่นสวนสาธารณะ ถนน สะพาน ฯลฯ
การออกแบบตกแต่งสวนขนาดใหญ่
การออกแบบสวนในบ้านโดยเลียนแบบธรรมชาติ
















ใบความรู้
เรื่อง  คุณค่าของดนตรีกับการดำรงชีวิต    
   ดนตรีสากล
ดนตรีเกิดขึ้นมาในโลกพร้อมๆกับมนุษย์เรานั่นเอง  ในยุคแรกๆมนุษย์อาศัยอยู่ในป่าดง  ในถ้ำ   ในโพรงไม้   แต่ก็รู้จักการร้องรำทำเพลงตามธรรมชาติ   เช่นรู้จักปรบมือ  เคาะหิน  เคาะไม้  เป่าปาก  เป่าเขา  และเปล่งเสียงร้องตามเรื่อง  การร้องรำทำเพลงไปเพื่ออ้อนวอนพระเจ้าเพื่อช่วยให้ตนพ้นภัย   บันดาลความสุขความอุดมสมบูรณ์ต่างๆให้แก่ตน   หรือเป็นการบูชาแสดงความขอบคุณพระเจ้าที่บันดาลให้ตนมีความสุขความสบาย
ในระยะแรก  ดนตรีมีเพียงเสียงเดียวและแนวเดียวเท่านั้นเรียกว่า  Melody    ไม่มีการประสานเสียง จนถึงศตวรรษที่ 12 มนุษย์เราเริ่มรู้จักการใช้เสียงต่างๆมาประสานกันอย่างง่ายๆ เกิดเป็นดนตรีหลายเสียงขึ้นมา
ยุคต่างๆของดนตรี
นักปราชญ์ทางดนตรีได้แบ่งดนตรีออกเป็นยุคต่างๆดังนี้
1. Polyphonic  Perio ( ค.ศ. 1200-1650 )  ยุคนี้เป็นยุคแรก  วิวัฒนาการมาเรื่อยๆ  จนมีแบบฉบับและหลักวิชการดนตรีขึ้น  วงดนตรีอาชีพตามโบสถ์    ตามบ้านเจ้านาย  และมีโรงเรียนสอนดนตรี
2. Baroque  Period  ( ค.ศ. 1650-1750 )  ยุคนี้วิชาดนตรีได้เป็นปึกแผ่น  มีแบบแผนการเจริญด้านนาฏดุริยางค์    มีมากขึ้น  มีโรงเรียนสอนเกี่ยวกับอุปรากร  (โอเปร่า)  เกิดขึ้น  มีนักดนตรีเอกของโลก 2 ท่านคือ  J.S. Bach   และ    G.H. Handen
3. Classical  Period ( ค.ศ. 1750-1820 )  ยุคนี้เป็นยุคที่ดนตรีเริ่มเข้าสู่ยุคใหม่  มีความรุ่งเรืองมากขึ้น  มีนักดนตรีเอก 3 ท่านคือ  Haydn Gluck   และMozart
4. Romantic Period  ( ค.ศ. 1820-1900 )  ยุคนี้มีการใช้เสียงดนตรีที่เน้นถึงอารมณ์อย่างเด่นชัดเป็นยุคที่ดนตรีเจริญถึงขีดสุดเรียกว่ายุคทองของดนตรี นักดนตรีเช่น Beetoven และคนอื่นอีกมากมาย
5. Modern  Period  ( ค.ศ. 1900-ปัจจุบัน ) เป็นยุคที่ดนตรีเปลี่ยนแปลงไปมาก  ดนตรีประเภทแจ๊ส (Jazz) กลับมามีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อยๆจนถึงปัจจุบันขนบธรรมเนียมประเพณีของแต่ละชาติ  ศาสนา  โดยเฉพาะทางดนตรีตะวันตก   นับว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับศาสนามาก      บทเพลงที่เกี่ยวกับศาสนาหรือเรียกว่าเพลงวัดนั้น  ได้แต่งขึ้นอย่างถูกหลักเกณฑ์    ตามหลักวิชาการดนตรี  ผู้แต่งเพลงวัดต้องมีความรู้ความสามารถสูง  เพราะต้องแต่งขึ้นให้สามารถโน้มน้าวจิตใจผู้ฟังให้นิยมเลื่อมใสในศาสนามากขึ้น  ดังนั้นบทเพลงสวดในศาสนาคริสต์จึงมีเสียงดนตรีประโคมประกอบการสวดมนต์   เมื่อมีบทเพลงเกี่ยวกับศาสนามากขึ้น  เพื่อเป็นการป้องกันการลืมจึงได้มีผู้ประดิษฐ์สัญลักษณ์ต่างๆแทนทำนอง  เมื่อประมาณ ค.ศ.  1000  สัญลักษณ์ดังกล่าวคือ  ตัวโน้ต (Note)  นั่นเอง  โน้ตเพลงที่ใช้ในหลักวิชาดนตรีเบื้องต้นเป็นเสียง โด  เร  มี นั้น  เป็นคำสวดในภาษาละติน   จึงกล่าวได้ว่าวิชาดนตรีมีจุดกำเนิดมาจากวัดหรือศาสนา  ซึ่งในยุโรปนั้นถือว่าเพลงเกี่ยวกับศาสนานั้นเป็นเพลงชั้นสูงสุดวงดนตรีที่เกิดขึ้นในศตวรรษต้นๆจนถึงปัจจุบัน  จะมีลักษณะแตกต่างกันออกไป  เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงก็มีจำนวนและชนิดแตกต่างกันตามสมัยนิยม  ลักษณะการผสมวงจะแตกต่างกันไป  เมื่อผสมวงด้วยเครื่องดนตรีที่ต่างชนิดกัน  หรือจำนวนของผู้บรรเลงที่ต่างกันก็จะมีชื่อเรียกวงดนตรีต่างกัน
  ดนตรีสากลประเภทต่างๆ
เพลงประเภทต่างๆ  แบ่งตามลักษณะของวงดนตรีสากลได้  6  ประเภท  ดังนี้    
1. เพลงที่บรรเลงโดยวงออร์เคสตร้า  ( Orchestra )   มีดังนี้
-   ซิมโฟนี่ (Symphony) หมายถึงการบรรเลงเพลงโซนาตา ( Sonata) ทั้งวง  คำว่า Sonata  หมายถึง  เพลงเดี่ยวของเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ  เช่นเพลงของไวโอลิน  เรียกว่า  Violin  Sonata  เครื่องดนตรีชนิดอื่น ๆ ก็เช่นเดียวกัน   การนำเอาเพลง โซนาตาของเครื่องดนตรีหลายๆชนิดมาบรรเลงพร้อมกันเรียกว่า  ซิมโฟนี่
- คอนเซอร์โต  ( Concerto)  คือเพลงผสมระหว่างโซนาตากับซิมโฟนี่  แทนที่จะมีเพลงเดี่ยวแต่อย่างเดียว  หรือบรรเลงพร้อมๆกันไปในขณะเดียวกัน  เครื่องดนตรีที่แสดงการเดี่ยวนั้น   ส่วนมากใช้ไวโอลินหรือเปียโน
- เพลงเบ็ดเตล็ด เป็นเพลงที่แต่งขึ้นบรรเลงเบ็ดเตล็ดไม่มีเนื้อร้อง
วงออร์เคสตร้า
2. เพลงที่บรรเลงโดยวงแชมเบอร์มิวสิค  ( Chamber  Music )  เป็นเพลงสั้นๆ  ต้องการแสดงลวดลายของการบรรเลงและการประสานเสียง  ใช้เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย  คือไวโอลิน วิโอลา และเชลโล
3. สำหรับเดี่ยว  เพลงประเภทนี้แต่งขึ้นสำหรับเครื่องดนตรีชิ้นเดียวเรียกว่า เพลง โซนาตา
4. โอราทอริโอ  (Oratorio)  และแคนตาตา (Cantata)  เป็นเพลงสำหรับศาสนาใช้ร้องในโบสถ์  จัดเป็นโอเปรา แบบหนึ่ง  แต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา
วงโอราทอริโอ
5. โอเปรา (Opera)  หมายถึง เพลงที่ใช้ประกอบการแสดงละครที่มีการร้องโต้ตอบกันตลอดเรื่อง   เพลงประเภทนี้ใช้ในวงดนตรีวงใหญ่บรรเลงประกอบ
ละคร Operaที่ดังที่สุดเรื่องหนึ่งของโลกคือเรื่อง The Phantom of the Opera

6. เพลงที่ขับร้องโดยทั่วไป ได้แก่ เพลงที่ร้องเดี่ยว ร้องหมู่หรือร้องประสานเสียงในวงออร์เคสตรา    วงคอมโบ  (Combo) หรือชาโดว์  (Shadow )  ซึ่งนิยมฟังกันทั้งจากแผ่นเสียงและจากวงดนตรีที่บรรเลงกันอยู่โดยทั่วไป
***********
ประเภทของเครื่องดนตรีสากล
เครื่องดนตรีสากลมีมากมายหลายประเภท แบ่งตามหลักในการทำเสียงหรือวิธีการบรรเลงเป็น  5  ประเภท  ดังนี้
1.  เครื่องสาย
เครื่องดนตรีประเภทนี้ ทำให้เกิดเสียงโดยการทำให้สายสั่นสะเทือนสายที่ใช้เป็นสายโลหะหรือสายเอ็น  เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย  แบ่งตามวิธีการเล่นเป็น  2  จำพวก คือ
1)  เครื่องดีด  ได้แก่  กีตาร์  แบนโจ  ฮาร์ป



แบนโจ



2)  เครื่องสี  ได้แก่  ไวโอลิน  วิโอลา



   

วิโอลา



2.  เครื่องเป่าลมไม้
               เครื่องดนตรีประเภทนี้แบ่งตามวิธีทำให้เกิดเสียงเป็น 2 ประเภท  คือ
1)  จำพวกเป่าลมผ่านช่องลม  ได้แก่  เรคอร์เดอร์  ปิคโคโล  ฟลูต



ปิคโคโล

        2)  จำพวกเป่าลมผ่านลิ้น  ได้แก่  คลาริเน็ต แซกโซโฟน




คลาริเน็ต

3.  เครื่องเป่าโลหะ
             เครื่องดนตรีประเภทนี้ ทำให้เกิดเสียงโดยการเป่าลมให้ผ่านริมฝีปากไปปะทะกับช่องที่เป่า ได้แก่  ทรัมเป็ต  ทรอมโบน  เป็นต้น
                       





ทรัมเป็ต



4. เครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ด
เครื่องดนตรีประเภทนี้เล่นโดยใช้นิ้วกดลงบนลิ้มนิ้วของเครื่องดนตรี ได้แก่  เปียโน  เมโลเดียน  คีย์บอร์ดไฟฟ้า  อิเล็กโทน






  เมโลเดียน


5.  เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี  แบ่งเป็น  2  กลุ่ม คือ
5.1)    เครื่องตีที่ทำทำนอง ได้แก่  ไซโลไฟน   เบลไลรา  ระฆังราว







เบลไลรา


5.2)   เครื่องตีที่ทำจังหวะ ได้แก่ ทิมปานี กลองใหญ่ กลองแตร็ก ทอมบา กลองชุด ฉาบ กรับ ลูกแซก
     





ปลองทิมปานี










   คุณค่าความไพเราะของเพลงสากล

ดนตรีเป็นสื่อสุนทรียศาสตร์ที่มีความละเอียด ประณีต มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อมนุษย์ ทั้งทางกาย และทางจิต เมื่อเราได้ยินเสียงดนตรีที่สงบ ก็จะทำให้จิตสงบ อารมณ์ดี หากได้ยินเสียงเพลงที่ให้ความบันเทิงใจ ก็จะเกิดอารมณ์ที่สดใส ทั้งนี้เพราะดนตรีเป็นสื่อสุนทรียที่สร้างความสุข ความบันเทิงใจให้แก่มนุษย์   เป็นเครื่องบำบัดความเครียด สร้างสมาธิ กล่อมเกลาจิตใจให้สุขุม เยือกเย็น อารมณ์ดี โดยที่ไม่ต้องเสียเวลา หรือเสียเงินซื้อหาแต่อย่างใดดนตรีมีคุณค่าต่อมนุษย์มากมาย ดังเช่น เสาวนีย์ สังฆโสภณ กล่าวว่าจากงานวิจัยของต่างประเทศ ทำให้เราทราบว่า ดนตรีมีผลต่อการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ ระบบกล้ามเนื้อ และสภาพจิตใจ ทำให้สมองหลั่งสารแห่งความสุข   เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด ทำให้เกิดสติ ความรู้สึกนึกคิดที่ดี และนำมาใช้ได้ผลในเรื่องการคลายความเครียด ลดความวิตกกังวล ลดความกลัว บรรเทาอาการเจ็บปวด เพิ่มกำลัง และการเคลื่อนไหวของร่างกาย โดยนิยมใช้ในงานฟื้นฟูสุขภาพคนทั่วไป พัฒนาคุณภาพชีวิต ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพอการ ผู้ป่วยโรคจิต และเด็กมีความต้องการเป็นพิเศษ เป็นต้นดนตรีเป็นศิลปะที่อาศัยเสียงเพื่อถ่ายทอดอารมณ์ไปสู่ผู้ฟัง เป็นศิลปะที่ง่ายต่อการสัมผัส ก่อให้เกิดความสุข ความปิติพอใจแก่มนุษย์ได้
กล่าวว่า ดนตรีเป็นภาษาสากล เพราะเป็นสื่อความรู้สึกของชนทุกชาติได้ ดังนั้น คนที่โชคดีมีประสาทรับฟังเป็นปกติ ก็สามารถหาความสุขจากการฟังดนตรีได้ เมื่อเราได้ฟังเพลงที่มีจังหวะ และทำนองที่ราบเรียบ นุ่มนวล จะทำให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลายความตึงเครียด ด้วยเหตุนี้ เมื่อเราได้ฟังดนตรี ที่เลือกสรรแล้ว จะช่วยทำให้เรามีสุขภาพจิตที่ดี อันมีผลดีต่อสุขภาพร่า กายด้วย ดนตรีจึงเปรียบเสมือน ยารักษาโรค การที่มีเสียงดนตรีรอบบ้าน เปรียบเสมือนมีอาหารและวิตามิน ที่ช่วยทำให้คนเรามีสุขภาพแข็งแรง
คุณประโยชน์ของดนตรีที่มีต่อมนุษย์ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะกล่าวถึงดนตรีมีผลต่อสภาวะทางร่างกาย แต่ความเป็นจริงแล้ว ดนตรีเป็นเรื่องของ “จิต” แล้วส่งผลดีมาสู่ “กาย” ดังนั้นจึงไม่แปลกอะไร ที่เรามักจะได้ยินว่า ดนตรีช่วยกล่อมเกลาจิตใจ ทำให้คนอารมณ์ดี ไม่เครียด คลายปวด ฯลฯ เพราะดนตรีเป็นสื่อสุนทรียะ ที่ถ่ายทอดโดยใช้เสียงดนตรีเป็นสื่อสุดท้ายของการบรรยายเรื่อง “สุนทรียศาสตร์ ทางดนตรี” จึงสรุปเป็นข้อคิดจากการศึกษามนเรื่องของความงามในเสียงดนตรี ผู้เสพ ควรเลือกว่าจะเสพเพียงแค่ “เป็นผู้เสพ” หรือจะเป็น “ผู้ได้รับประโยชน์จากการเสพ” เพราะดนตรีนั้นงามโดยใช้เสียงเป็นสื่อ แต่ขั้นตอนสำคัญในการถ่ายทอดคือ นักดนตรีถ่ายทอดโดยใช้ “จิต” ผู้ฟังรับสื่อโดยใช้ “จิต” เป็นตัวรับรู้รับสัมผัสอารมณ์ต่าง ๆ ผลจากการรับสัมผัสด้วยจิตนั้น เพลงที่สงบ ราบเรียบ จิตก็จะว่าง (สูญญตา) ทำให้จิตขณะนั้นปราศจาก “กิเลส” ผู้ฟังจึงรู้สึกสบายใจ คลายความวิตกกังวล คลายความเศร้า คลายความเจ็บปวด ผู้ฟังเกิดสมาธิ จึงเป็นผลให้สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ




ใบความรู้
เรื่อง ดนตรีสากลประเภทต่างๆ   ประวัติ ภูมิปัญญาทางดนตรีสากล

องค์ประกอบของดนตรีสากล
ดนตรีไม่ว่าจะเป็นของชาติใด ภาษาใด ล้วนมีพื้นฐานมาจากส่วนต่างๆ เหล่านี้ทั้งสิ้น ความแตกต่างในรายละเอียดของแต่ละส่วนแต่ละวัฒนธรรมนั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง แต่การที่จะแตกต่างกันอย่างไรนั้น กรอบวัฒนธรรมของแต่ละสังคมจะเป็นปัจจัยที่กำหนดในตรงตามรสนิยมของแต่ละวัฒนธรรมจนเป็นผลให้สามารถแยกแยะดนตรีของชาติหนึ่งแตกต่างจากดนตรีของอีกชาติหนึ่งอย่างไร
องค์ประกอบของดนตรีสากล ประกอบด้วย
1. เสียง (Tone)
คีตกวีผู้สร้างสรรค์ดนตรี เป็นผู้ใช้เสียงในการสร้างสรรค์ผลิตงานศิลปะเพื่อรับใช้สังคม ผู้สร้างสรรค์ดนตรีสามารถสร้างเสียงที่หลากหลายโดยอาศัยวิธีการผลิตเสียงเป็นปัจจัยกำหนด เช่น การดีด การสี การตี การเป่า เสียงเกิดจากการสั่นสะเทือนของอากาศที่เป็นไปอย่างสม่ำเสมอ ส่วนเสียงอึกทึกหรือเสียงรบกวน (Noise) เกิดจากการสั่นสะเทือนของอากาศที่ไม่สม่ำเสมอ ลักษณะความแตกต่างของเสียงขึ้นอยู่กบคุณสมบัติสำคัญ 4 ประการ คือ ระดับเสียง ความยาวของเสียง ความเข้มของเสียง และคุณภาพของเสียง
1.1 ระดับเสียง (Pitch) หมายถึง ระดับความสูง-ต่ำของเสียง ซึ่งเกิดการจำนวนความถี่ของการสั่นสะเทือน กล่าวคือ ถ้าเสียงที่มีความถี่สูง ลักษณะการสั่นสะเทือนเร็ว จะส่งผลให้มีระดับเสียงสูง แต่ถ้าหากเสียงมีความถี่ต่ำ ลักษณะการสั่นสะเทือนช้าจะส่งผลให้มีระดับเสียงต่ำ
1.2 ความสั้น-ยาวของเสียง (Duration) หมายถึง คุณสมบัติที่เกี่ยวกับความยาว-สั้นของเสียง ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สำคัญอย่างยิ่งของการกำหนดลีลา จังหวะ ในดนตรีตะวันตก การกำหนดความสั้น-ยาวของเสียง สามารถแสดงให้เห็นได้จากลักษณะของตัวโน้ต เช่น โน้ตตัวกลม ตัวขาว และตัวดำ เป็นต้น สำหรับในดนตรีไทยนั้น แต่เดิมมิได้ใช้ระบบการบันทักโน้ตเป็นหลัก แต่ย่างไรก็ตาม การสร้างความยาว-สั้นของเสียงอาจสังเกตได้จากลีลาการกรอระนาดเอก ฆ้องวง ในกรณีของซออาจแสดงออกมาในลักษณะของการลากคันชักยาวๆ
1.3 ความเข้มของเสียง (Intensity) ความเข้มของสียงเกี่ยวข้องกับน้ำหนักของความหนักเบาของเสียง ความเข้มของเสียงจะเป็นคุณสมบัติที่ก่อประโยชน์ในการเกื้อหนุนเสียงให้มีลีลาจังหวะที่สมบูรณ์
1.4 คุณภาพของเสียง (Quality) เกิดจากคุณภาพของแหล่งกำเนิดเสียงที่แตกต่างกัน ปัจจัยที่ทำให้คุณภาพของเสียงเกิดความแตกต่างกันนั้น เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น วิธีการผลิตเสียง รูปทรงของแหล่งกำเนิดเสียง และวัสดุที่ใช้ทำแหล่งกำเนิดเสียง ปัจจัยเหล่านี้ก่อให้เกิดลักษณะคุณภาพของเสียง ซึ่งเป็นหลักสำคัญให้ผู้ฟังสามารถแยกแยะสีสันของสียง (Tone Color) ระหว่างเครื่องดนตรีเครื่องหนึ่งกับเครื่องหนึ่งได้อย่างชัดเจน
2.  พื้นฐานจังหวะ (Element of Time)
จังหวะเป็นศิลปะของการจัดระเบียบเสียง ที่เกี่ยวข้องกับความช้าเร็ว ความหนักเบาและความสั้น-ยาว องค์ประกอบเหล่านี้ หากนำมาร้อยเรียง ปะติดปะต่อเข้าด้วยกันตามหลักวิชาการเชิงดนตรีแล้ว สามารถที่จะสร้างสรรค์ให้เกิดลีลาจังหวะอันหลากหลาย ในเชิงจิตวิทยา อิทธิพลของจังหวะที่มีผลต่อผู้ฟังจะปรากฏพบในลักษณะของการตอบสนองเชิงกายภาพ เช่น ฟังเพลงแล้วแสดงอาการกระดิกนิ้ว ปรบมือร่วมไปด้วย
3. ทำนอง (Melody)
        ทำนองเป็นการจัดระเบียบของเสียงที่เกี่ยวข้องกับความสูง-ต่ำ ความสั้น-ยาว และความดัง-เบา คุณสมบัติเหล่านี้เมื่อนำมาปฏิบัติอย่างต่อเนื่องบนพื้นฐานของความช้า-เร็ว จะเป็นองค์ประกอบของดนตรีที่ผู้ฟังสามารถทำความเข้าใจได้ง่ายที่สุด
        ในเชิงจิตวิทยา ทำนองจะกระตุ้นผู้ฟังในส่วนของสติปัญญา ทำนองจะมีส่วนสำคัญในการสร้างความประทับใจ จดจำ และแยกแยะความแตกต่างระหว่างเพลงหนึ่งกับอีกเพลงหนึ่ง
4. พื้นผิวของเสียง (Texture)
      “พื้นผิว” เป็นคำที่ใช้อยู่ทั่วไปในวิชาการด้านวิจิตรศิลป์ หมายถึง ลักษณะพื้นผิวของสิ่งต่างๆ เช่น พื้นผิวของวัสดุที่มีลักษณะขรุขระ หรือเกลี้ยงเกลา ซึ่งอาจจะทำจากวัสดุที่ต่างกัน
        ในเชิงดนตรีนั้น “พื้นผิว” หมายถึง ลักษณะหรือรูปแบบของเสียงทั้งที่ประสานสัมพันธ์และไม่ประสานสัมพันธ์ โดยอาจจะเป็นการนำเสียงมาบรรเลงซ้อนกันหรือพร้อมกัน ซึ่งอาจพบทั้งในแนวตั้งและแนวนอน ตามกระบวนการประพันธ์เพลง ผลรวมของเสียงหรือแนวทั้งหมดเหล่านั้น จัดเป็นพื้นผิวตามนัยของดนตรีทั้งสิ้น ลักษณะรูปแบบพื้นผิวของเสียงมีอยู่หลายรูปแบบ ดังนี้
4.1 Monophonic Texture เป็นลักษณะพื้นผิวของเสียงที่มีแนวทำนองเดียว ไม่มีเสียงประสาน พื้นผิวเสียงในลักษณะนี้ถือเป็นรูปแบบการใช้แนวเสียงของดนตรีในยุคแรกๆ ของดนตรีในทุกวัฒนธรรม
4.2 Polyphonic Texture เป็นลักษณะพื้นผิวของเสียงที่ประกอบด้วยแนวทำนองตั้งแต่สองแนวทำนองขึ้นไป โดยแต่ละแนวมีความเด่นและเป็นอิสระจากกัน ในขณะที่ทุกแนวสามารถประสานกลมกลืนไปด้วยกัน
ลักษณะแนวเสียงประสานในรูปของ Polyphonic Texture มีวิวัฒนาการมาจากเพลงชานท์ (Chant) ซึ่งมีพื้นผิวเสียงในลักษณะของเพลงทำนองเดียว (Monophonic Texture) ภายหลังได้มีการเพิ่มแนวขับร้องเข้าไปอีกหนึ่งแนว แนวที่เพิ่มเข้าไปใหม่นี้จะใช้ระยะขั้นคู่ 4 และคู่ 5 และดำเนินไปในทางเดียวกับเพลงชานท์เดิม การดำเนินทำนองในลักษณะนี้เรียกว่า “ออร์กานุ่ม” (Orgonum) นับได้ว่าเป็นยุคเริ่มต้นของการประสานเสียงแบบ Polyphonic Texture หลังจากคริสต์ศตวรรษที่ 14 เป็นต้นมา แนวทำนองประเภทนี้ได้มีการพัฒนาก้าวหน้าไปมาก ซึ่งเป็นระยะเวลาที่การสอดทำนอง (Counterpoint) ได้เข้าไปมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นในการตกแต่งพื้นผิวของแนวทำนองแบบ Polyphonic Texture
4.3 Homophonic Texture เป็นลักษณะพื้นผิวของเสียง ที่ประสานด้วยแนวทำนองแนวเดียว โดยมี กลุ่มเสียง (Chords) ทำหน้าที่สนับสนุนในคีตนิพนธ์ประเภทนี้ แนวทำนองมักจะเคลื่อนที่ในระดับเสียงสูงที่สุดในบรรดากลุ่มเสียงด้วยกัน ในบางโอกาสแนวทำนองอาจจะเคลื่อนที่ในระดับเสียงต่ำได้เช่นกัน ถึงแม้ว่าคีตนิพนธ์ประเภทนี้จะมีแนวทำนองที่เด่นเพียงทำนองเดียวก็ตาม แต่กลุ่มเสียง (Chords) ที่ทำหน้าที่สนับสนุนนั้น มีความสำคัญที่ไม่น้อยไปกว่าแนวทำนอง การเคลื่อนที่ของแนวทำนองจะเคลื่อนไปในแนวนอน ในขณะที่กลุ่มเสียงสนับสนุนจะเคลื่อนไปในแนวตั้ง
4.4 Heterophonic Texture เป็นรูปแบบของแนวเสียงที่มีทำนองหลายทำนอง แต่ละแนวมีความสำคัญเท่ากันทุกแนว คำว่า Heteros เป็นภาษากรีก หมายถึงแตกต่างหลากหลาย ลักษณะการผสมผสานของแนวทำนองในลักษณะนี้ เป็นรูปแบบการประสานเสียง
5. สีสันของเสียง (Tone Color)
          “สีสันของเสียง” หมายถึง คุณลักษณะของเสียงที่กำเนิดจากแหล่งเสียงที่แตกต่างกัน แหล่งกำเนิดเสียงดังกล่าว เป็นได้ทั้งที่เป็นเสียงร้องของมนุษย์และเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ ความแตกต่างของเสียงร้องมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นระหว่างเพศชายกับเพศหญิง หรือระหว่างเพศเดียวกัน ซึ่งล้วนแล้วแต่มีพื้นฐานของการแตกต่างทางด้านสรีระ เช่น หลอดเสียงและกล่องเสียง เป็นต้น
        ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเครื่องดนตรีนั้น ความหลากหลายด้านสีสันของเสียง ประกอบด้วยปัจจัยที่แตกต่างกันหลายประการ เช่น วิธีการบรรเลง วัสดุที่ใช้ทำเครื่องดนตรี รวมทั้งรูปทรง และขนาด ปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลโดยตรงต่อสีสันของเสียงเครื่องดนตรี ทำให้เกิดคุณลักษณะของเสียงที่แตกต่างกันออกไป
5.1 วิธีการบรรเลง อาศัยวิธีดีด สี ตี และเป่า วิธีการผลิตเสียงดังกล่าวล้วนเป็นปัจจัยให้เครื่องดนตรีมีคุณลักษณะของเสียงที่ต่างกัน
5.2 วัสดุที่ใช้ทำเครื่องดนตรี วัสดุที่ใช้ทำเครื่องดนตรีของแต่ละวัฒนธรรมจะแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมของสังคมและยุคสมัย วัสดุที่ใช้ทำเครื่องดนตรีที่แตกต่างกัน นับเป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่ง ที่ส่งผลให้เกิดความแตกต่างในด้านสีสันของเสียง
5.3 ขนาดและรูปทรง ลักษณะของเครื่องดนตรีที่มีรูปทรงและขนาดที่แตกต่างกัน จะเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความแตกต่างกันในด้านสีสันของเสียงในลักษณะที่มีความสัมพันธ์กัน
6. คีตลักษณ์ (Forms)
        คีตลักษณ์หรือรูปแบบของเพลง เปรียบเสมือนกรอบที่หลอมรวมเอาจังหวะ ทำนอง พื้นผิว และสีสันของเสียงให้เคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกัน เพลงที่มีขนาดสั้น-ยาว วนกลับไปมา ล้วนเป็นสาระสำคัญของคีตลักษณ์ทั้งสิ้น
ดนตรีมีธรรมชาติที่แตกต่างไปจากศิลปะแขนงอื่น ๆ ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้
1. ดนตรีเป็นสื่อทางอารมณ์ที่สัมผัสได้ด้วยหู กล่าวคือ หูนับเป็นอวัยวะสำคัญที่ทำให้คนเราสามารถสัมผัสกับดนตรีได้ ผู้ที่หูหนวกย่อมไม่สามารถทราบได้ว่าเสียงดนตรีนั้นเป็นอย่างไร
2. ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม กล่าวคือ กลุ่มชนต่าง ๆ จะมีวัฒนธรรมของตนเอง และวัฒนธรรมนี้เองที่ทำให้คนในกลุ่มชนนั้นมีความพอใจและซาบซึ้งในดนตรีลักษณะหนึ่งซึ่งอาจแตกต่างไปจากคนในอีกวัฒนธรรมหนึ่ง ตัวอย่างเช่น คนไทยเราซึ่งเคยชินกับดนตรีไทยและดนตรีสากล เมื่อไปฟังดนตรีพื้นเมืองของอินเดียก็อาจไม่รู้สึกซาบซึ้งแต่อย่างใด แม้จะมีคนอินเดียคอยบอกเราว่าดนตรีของเขาไพเราะเพราะพริ้งมากก็ตาม เป็นต้น
3. ดนตรีเป็นเรื่องของสุนทรียศาสตร์ว่าด้วยความไพเราะ ความไพเราะของดนตรีเป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถซาบซึ้งได้และเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ กับทุกคน ทุกระดับ ทุกชนชั้น ตามประสบการณ์ของแต่ละบุคคล
4. ดนตรีเป็นเรื่องของการแสดงออกทางอารมณ์ เสียงดนตรีจะออกมาอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับเจ้าของอารมณ์ที่จะช่วยถ่ายทอดออกมาเป็นเสียง ดังนั้นเสียงของดนตรีอาจกล่าวได้ว่าอยู่ที่อารมณ์ของผู้ประพันธ์เพลงที่จะใส่อารมณ์ลงไปในเพลงตามทีตนต้องการ ผู้บรรเลงเพลงก็ถ่ายทอดอารมณ์จากบทประพันธ์ลงบนเครื่องดนตรี ผลที่กระทบต่อผู้ที่ฟังก็คือ เสียงดนตรีที่ประกอบขึ้นด้วยอารมณ์ของผู้ประพันธ์ผสมกับความสามารถของนักดนตรีที่จะถ่ายทอดได้ถึงอารมณ์หรอมีความไพเราะมากน้อยเพียงใด
5. ดนตรีเป็นทั้งระบบวิชาความรู้และศิลปะในขณะเดียวกัน กล่าวคือ ความรู้เกี่ยวกับดนตรีนั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับเสียงและการจัดระบบเสียงให้เป็นท่วงทำนองและจังหวะ ซึ่งคนเราย่อมจะศึกษาเรียนรู้ “ความรู้ที่เกี่ยวกับดนตรี” นี้ก็ได้ โดยการท่อง จำ อ่าน ฟัง รวมทั้งการลอกเลียนจากคนอื่นหรือการคิดหาเหตุผลเอาเองได้ แต่ผู้ที่ได้เรียนรู้จะมี “ความรู้เกี่ยวกับดนตรี” ก็อาจไม่สามารถเข้าถึงความไพเราะหรือซาบซึ้งในดนตรีได้เสมอไป เพราะการเข้าถึงดนตรีเป็นเรื่องของศิลปะ เพียงแต่ผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับดนตรีนั้นจะสามารถเข้าถึงความไพเราะของดนตรีได้ง่ายขึ้น
ประวัติภูมิปัญญาทางดนตรีสากล
      ดนตรีสากลมีการพัฒนามายาวนาน  และเกือบทั้งหมดเป็นการพัฒนาจากฝั่งทวีปยุโรป  จะมีการพัฒนาในยุคหลังๆที่ดนตรีสากลมีการพัฒนาสูงในฝั่งทวีปอเมริกาเหนือ
ดนตรีสากล สามารถแบ่งการพัฒนาออกเป็นช่วงยุคดังนี้
1. ดนตรีคลาสสิกยุโรปยุคกลาง (Medieval European Music พ.ศ. 1019 - พ.ศ. 1943) ดนตรีคลาสสิกยุโรปยุคกลาง หรือ ดนตรียุคกลาง เป็นดนตรีที่ถือว่าเป็นจุดกำเนิดของดนตรีคลาสสิก เริ่มต้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 1019 (ค.ศ. 476) ซึ่งเป็นปีล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน ดนตรีในยุคนี้มีจุดประสงค์หลักเพื่อประกอบพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนา และคาดกันว่ามีต้นกำเนิดมาจากดนตรีในยุคกรีกโบราณ





                                              รูปแบบของดนตรีคลาสสิกยุโรปยุคกลา
2. ดนตรียุคเรเนสซองส์ (Renaissance Music พ.ศ. 1943 - พ.ศ. 2143) นับเริ่มการนับเมื่อประมาณปี พ.ศ. 1943 (ค.ศ. 1400) เมื่อเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงศิลปะ และฟื้นฟูศิลปะโบราณยุคโรมันและกรีก แต่ดนตรียังคงเน้นหนักไปทางศาสนา เพียงแต่เริ่มมีการใช้เครื่องดนตรีที่หลากหลายขึ้น





ดนตรียุคเรเนสซองส์
3. ดนตรียุคบาโรค (Baroque Music พ.ศ. 2143 - พ.ศ. 2293) ยุคนี้เริ่มขึ้นเมื่อมีการกำเนิดอุปรากรในประเทศฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ. 2143 (ค.ศ. 1600) และ สิ้นสุดลงเมื่อ โยฮันน์ เซบาสเทียน บาค เสียชีวิตลงในปี พ.ศ. 2293 (ค.ศ. 1750) แต่บางครั้งก็นับว่าสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2273 (ค.ศ. 1730) เริ่มมีการเล่นดนตรีเพื่อการฟังมากขึ้นในหมู่ชนชั้นสูง นิยมการเล่นเครื่องดนตรีประเภทออร์แกนมากขึ้น แต่ก็ยังคงเน้นหนักไปทางศาสนา นักดนตรีที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ เช่น บาค วิวัลดิ เป็นต้น






ดนตรียุคบาโรค
4. ดนตรียุคคลาสสิค (Classical Period Music พ.ศ. 2293 - พ.ศ. 2363) เป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด มีกฏเกณฑ์ แบบแผน รูปแบบและหลักในการเล่นดนตรีอย่างชัดเจน ศุนย์กลางของดนตรียุคนี้คือประเทศออสเตรีย โดยเฉพาะที่กรุงเวียนนา และเมืองมานไฮม์(Mannheim) นักดนตรีที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ เช่น โมซาร์ท เป็นต้น





ดนตรียุคคลาสสิค
5. ดนตรียุคโรแมนติค (Romantic Music พ.ศ. 2363 - พ.ศ. 2443) เป็นยุคที่มีเริ่มมีการแทรกของอารมณ์ในเพลง มีการเปลี่ยนอารมณ์ ความดังความเบา และจังหวะ ซึ่งต่างจากยุคก่อนๆซึ่งยังไม่มีการใส่อารมณ์ในทำนอง นักดนตรีที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ เช่น เบโธเฟน ชูเบิร์ต โชแปง ไชคอฟสกี เป็นต้น







ลุดวิก ฟาน เบโธเฟ่น

6. ดนตรียุคศตวรรษที่ 20 (20th Century Calssical Music พ.ศ. 2443 - พ.ศ. 2543) นักดนตรีเริ่มแสวงหาแนวดนตรีที่ไม่ขึ้นกับแนวดนตรีในยุคก่อนๆ จังหวะในแต่ละห้องเริ่มแปลกไปกว่าเดิม ไม่มีโน้ตสำคัญเกิดขึ้น(Atonal) ระยะห่างระหว่างเสียงกับเสียงเริ่มลดน้อยลง ไร้ท่วงทำนองเพลง นักดนตรีบางกลุ่มหันไปยึดดนตรีแนวเดิม ซึ่งเรียกว่า แบบนีโอคลาสสิก (Neoclassic) นักดนตรีที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ เช่น อิกอร์ เฟโตโรวิช  สตราวินสกีเป็นต้น










อิกอร์ เฟโดโรวิช สตราวินสกี




7. ดนตรียุคปัจจุบัน (ช่วงทศวรรษหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 - ปัจจุบัน)
ยุคของดนตรีป็อป (pop music)
-   ยุค 50 เพลงร็อกแอนด์โรลล์ได้รับความนิยม มีศิลปินที่ได้รับความนิยมอย่างเอลวิส เพรสลีย์
-   ยุค 60 เป็นยุคของทีนไอดอลอย่างวง เดอะ บีทเทิลส์, เดอะ บีชบอยส์, คลิฟ ริชาร์ด, โรลลิ่ง สโตน, แซนดี ชอว์ เป็นต้น
-   ยุค 70 เป็นยุคของดนตรีดิสโก้ มีศิลปินอย่าง แอบบ้า, บีจีส์ และยังมีดนตรีประเภทคันทรีที่ได้รับความนิยมอย่าง เดอะ อีเกิลส์ หรือดนตรีป็อปที่ได้รับอิทธิพลจากร็อกอย่าง เดอะ คาร์เพ็นเทอร์ส, ร็อด สจ๊วต,
แครี ไซม่อน, แฌร์ เป็นต้น
-   ยุค 80 มีศิลปินป็อปที่ได้รับความนิยมอย่าง ไมเคิล แจ็คสัน, มาดอนน่า, ทิฟฟานี, เจเน็ท แจ็คสัน‎,
ฟิล คอลลินส์, แวม ลักษณะดนตรีจะมีการใส่ดนตรีสังเคราะห์เข้าไป เพลงในยุคนี้ส่วนใหญ่จะเป็นเพลงเต้นรำและยังมีอิทธิพลถึงทางด้านแฟชั่นด้วย







วงดนตรี เดอะ อีเกิลส์
-   ยุค 90 เริ่มได้อิทธิพลจากเพลงแนวอาร์แอนด์บี เช่น มารายห์ แครี, เดสทินี ไชลด์, บอยซ์ ทู เม็น,
เอ็น โวค, ทีแอลซี ในยุคนี้ยังมีวงบอยแบนด์ที่ได้รับความนิยมอย่าง นิว คิดส์ ออน เดอะบล็อก, เทค แดท,
แบ็คสตรีท บอยส์
-   ยุค 2000 มีศิลปินที่ประสบความสำเร็จอย่าง บริทย์นี สเปียร์, คริสติน่า อากีเลร่า, บียอนเซ่, แบล็ค อายด์ พีส์, จัสติน ทิมเบอร์เลค ส่วนเทรนป็อปอื่นเช่นแนว ป็อป-พังค์ อย่างวง ซิมเปิ้ล แพลน, เอฟริล ลาวีน รวมถึงการเกิดรายการสุดฮิต อเมริกัน ไอดอลที่สร้างศิลปินอย่าง เคลลี่ คลาร์กสัน และ เคลย์ ไอเคน แนวเพลงป็อปและอาร์แอนด์บีเริ่มรวมกัน มีลักษณะเพลงป็อปที่เพิ่มความเป็นอาร์แอนด์บีมากขึ้นอย่าง เนลลี เฟอร์ตาโด, ริฮานนา, จัสติน ทิมเบอร์เลค เป็นต้น





ใบความรู้
เรื่อง  นาฏศิลป์ สุนทรียะทางนาฏศิลป์
ประวัตินาฏศิลป์ไทย
        นาฏศิลป์  เป็นศิลปะแห่งการละคร  ฟ้อนรำ  และดนตรี  อันมีคุณสมบัติตามคัมภีร์นาฏะหรือนาฏยะ  กำหนดว่า  ต้องประกอบไปด้วย  ศิลปะ  3  ประการ  คือ  การฟ้อนรำ  การดนตรี  และการขับร้อง  รวมเข้าด้วยกัน  ซึ่งทั้ง  3  สิ่งนี้เป็นอุปนิสัยของคนมาแต่ดึกดำบรรพ์  นาฏศิลป์ไทยมีที่มาและเกิดขึ้นจากสาเหตุตามแนวคิดต่าง ๆ เช่น  เกิดจากความรู้สึกกระทบกระเทือนทางอารมณ์  ไม่ว่าจะอารมณ์แห่งความสุข  หรือความทุกข์แล้วสะท้อนออกมาเป็นท่าทาง  แบบธรรมชาติและประดิษฐ์ขึ้นเป็นท่าทางลีลาการฟ้อนรำ  หรือเกิดจากลัทธิความเชื่อในการนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์  เทพเจ้า  โดยแสดงความเคารพบูชาด้วยการเต้นรำ  ขับร้อง  ฟ้อนรำให้เกิดความพึงพอใจ  เป็นต้น
               นอกจากนี้  นาฏศิลป์ไทย  ยังได้รับอิทธิพลแบบแผนตามแนวคิดจากต่างชาติเข้ามาผสมผสานด้วย  เช่น  วัฒนธรรมอินเดียเกี่ยวกับวัฒนกรรมที่เป็นเรื่องของเทพเจ้า  และตำนานการฟ้อนรำ โดยผ่านเข้าสู่ประเทศไทย ทั้งทางตรงและทางอ้อม คือ ผ่านชนชาติชวาและเขมร ก่อนที่จะนำมาปรับปรุงให้เป็นรูปแบบตามเอกลักษณ์ของไทย  เช่น  ตัวอย่างของเทวรูปศิวะปางนาฏราช  ที่สร้างเป็นท่าการร่ายรำของ พระอิศวร  ซึ่งมีทั้งหมด  108  ท่า  หรือ  108  กรณะ  โดยทรงฟ้อนรำครั้งแรกในโลก  ณ  ตำบลจิทรัมพรัม  เมืองมัทราส  อินเดียใต้  ปัจจุบันอยู่ในรัฐทมิฬนาดู  นับเป็นคัมภีร์สำหรับการฟ้อนรำ  แต่งโดยพระภรตมุนี  เรียกว่า  คัมภีร์ภรตนาฏยศาสตร์  ถือเป็นอิทธิพลสำคัญต่อแบบแผนการสืบสาน  และการถ่ายทอดนาฏศิลป์ของไทยจนเกิดขึ้นเป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่มีรูปแบบ  แบบแผนการเรียน  การฝึกหัด  จารีต  ขนบธรรมเนียม  มาจนถึงปัจจุบัน
        อย่างไรก็ตาม  บรรดาผู้เชี่ยวชาญที่ศึกษาทางด้านนาฏศิลป์ไทยได้สันนิษฐานว่า อารยธรรมทางศิลปะด้านนาฎศิลป์ของอินเดียนี้ได้เผยแพร่เข้ามาสู่ประเทศไทจยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุทธยาตามประวัติการสร้างเทวาลัยศิวะนาฎราชที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1800  ซึ่งเป็นระที่ไทยเริ่มก่อตั้งกรุงสุโขทัย  ดังนั้นที่รำไทยที่ดัดแปลงมาจากอินเดียในครั้งแรกจึงเป็นความคิดของนักปราชญ์ในสมัยกรุงศรีอยุทธยา และมีการแก้ไข  ปรับปรุงหรือประดิษฐ์ขึ้นใหม่ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์  จนนำมาสู่การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์จนนำมาสู่การประดิษฐ์ท่าทางร่ายรำและละครไทยมาจนถึงปัจจุบัน




ประเภทของนาฎศิลป์ไทย
                นาฎศิลป์  คือ  การร่ายรำที่มนุษย์ได้ปรุงแต่งจากลีลาตามธรรมชาติให้สวยสดงดงาม  โดยมีดนตรีเป็นองค์ประกอบในการร่ายรำ
                นาฎศิลป์ของไทย  แบ่งออกตามลักษณะของรูปแบบการแสดงเป็นประเภทใหญ่ ๆ   4  ประเภท  คือ
        1.  โขน  เป็นการแสดงนาฎศิลป์ชั้นสูงของไทยที่มีเอกลักษณ์  คือ  ผู้แสดงจะต้องสวมหัวที่เรียกว่า  หัวโขน และใช้ลีลาท่าทางการแสดงด้วยการเต้นไปตามบทพากย์  การเจรจาของผู้พากย์และตามทำนองเพลงหน้าพาทย์ที่บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์  เรื่องที่นิยมนำมาแสดง คือ พระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์  แต่งการเลียนแบบเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์ที่เป็นเครื่องต้น เรียกว่าการแต่งกายแบบ “ยื่นเครื่อง” มีจารีตขั้นตอนการแสดงที่เป็นแบบแผน นิยมจัดแสดงเฉพาะพิธีสำคัญได้แก่ งานพระราชพิธีต่าง  ๆ
        2.  ละคร  เป็นศิลปะการร่ายรำที่เล่นเป็นเรื่องราว  มีพัฒนาการมาจากการเล่านิทาน  ละครมีเอกลักษณ์ในการแสดงและการดำเนินเรื่องด้วยกระบวนลีลาท่ารำ  เข้าบทร้อง  ทำนองเพลงและเพลงหน้าพาทย์ที่บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์มีแบบแผนการเล่นที่เป็นทั้งของชาวบ้านและของหลวงที่เรียกว่า  ละครโนราชาตรี  ละครนอก  ละครใน  เรื่องที่นิยมนำมาแสดงคือ  พระสุธน  สังข์ทอง คาวี  อิเหนา  อุณรุท  นอกจากนี้ยังมีละครที่ปรับปรุงขึ้นใหม่อีกหลายชนิด  การแต่งกายของละครจะเลียนแบบเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์  เรียกว่า  การแต่งการแบยืนเครื่อง  นิยมเล่นในงานพิธีสำคัญและงานพระราชพิธีของพระมหากษัตริย์
       3.   ระ  และ ระบำ  เป็นศิลปะแห่งการร่ายรำประกอบเพลงดนตรีและบทขับร้อง โดยไม่เล่นเป็นเรื่องราว  ในที่นี้หมายถึงรำและระบำที่มีลักษณะเป็นการแสดงแบบมาตรฐาน  ซึ่งมีความหมายที่จะอธิบายได้พอสังเขป  ดังนี้
               3.1  รำ  หมายถึง  ศิลปะแห่งการรายรำที่มีผู้แสดง  ตั้งแต่  1-2  คน  เช่น  การรำเดี่ยว  การรำคู่  การรำอาวุธ  เป็นต้น มีลักษณะการแต่งการตามรูปแบบของการแสดง  ไม่เล่นเป็นเรื่องราวอาจมีบทขับร้องประกอบการรำเข้ากับทำนองเพลงดนตรี  มีกระบวนท่ารำ  โดยเฉพาะการรำคู่จะต่างกับระบำ  เนื่องจากท่ารำจะมีความเชื่อมโยงสอดคล้องต่อเนื่องกัน  และเป็นบทเฉพาะสำหรับผู้แสดงนั้น ๆ  เช่น รำเพลงช้าเพลงเร็ว  รำแม่บท  รำเมขลา –รามสูร  เป็นต้น
               3.2 ระบำ  หมายถึง  ศิลปะแห่งการร่ายรำที่มีผู้เล่นตังแต่  2 คนขึ้นไป  มีลักษณะการแต่งการคล้ายคลึงกัน  กระบวนท่ารายรำคล้าคลึงกัน  ไม่เล่นเป็นเรื่องราว  อาจมีบทขับร้องประกอบการรำเข้าทำนองเพลงดนตรี  ซึ่งระบำแบบมาตรฐานมักบรรเลงด้วยวงปี่พาทย์  การแต่งการนิยมแต่งกายยืนเครื่องพระนาง-หรือแต่งแบบนางในราชสำนัก  เช่น  ระบำสี่บท  ระบำกฤดาภินิหาร  ระบำฉิ่งเป็นต้น
     4.  การแสดงพื้นเมือง   เป็นศิลปะแห่งการร่ายรำที่มีทั้งรำ  ระบำ  หรือการละเล่นที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มชนตามวัฒนธรรมในแต่ละภูมิภาค  ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นภูมิภาคได้ 4  ภาค  ดังนี้
               4.1  การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ  เป็นศิลปะการรำ  และการละเล่น  หรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า  “ฟ้อน”  การฟ้อนเป็นวัฒนธรรมของชาวล้านนา  และกลุ่มชนเผ่าต่าง ๆ  เช่น  ชาวไต  ชาวลื้อ  ชาวยอง  ชาวเขิน  เป็นต้น  ลักษณะของการฟ้อน  แบ่งเป็น  2  แบบ  คือ  แบบดั้งเดิม  และแบบที่ปรับปรุงขึ้นใหม่  แต่ยังคงมีการรักษาเอกลักษณ์ทางการแสดงไว้คือ มีลีลาท่ารำที่แช่มช้า  อ่อนช้อยมีการแต่งกายตามวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สวยงามประกอบกับการบรรเลงและขับร้องด้วยวงดนตรีพื้นบ้าน เช่น วงสะล้อ ซอ ซึง วงปูเจ่ วงกลองแอว เป็นต้น โอกาสที่แสดงมักเล่นกันในงานประเพณีหรือต้นรับแขกบ้านแขกเมือง ได้แก่ ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนครัวทาน ฟ้อนสาวไหม และฟ้อนเจิง
               4.2  การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง  เป็นศิลปะการร่ายรำและการละเล่นของชนชาวพื้นบ้านภาคกลาง  ซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพเกี่ยวกับเกษตรกรรม  ศิลปะการแสดงจึงมีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตและเพื่อความบันเทิงสนุกสนาน  เป็นการพักผ่อนหย่อนใจจากการทำงาน  หรือเมื่อเสร็จจากเทศการฤดูเก็บเก็บเกี่ยว  เช่น  การเล่นเพลงเกี่ยวข้าว  เต้นกำรำเคียว  รำโทนหรือรำวง  รำเถิดเทอง  รำกลองยาว  เป็นต้น  มี  การแต่งกายตามวัฒนธรรมของท้องถิ่น  และใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้าน  เช่น  กลองยาว กลองโทน ฉิ่ง ฉาบ กรับ และโหม่ง
               4.3  การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน  เป็นศิลปะการรำและการเล่นของชาวพื้นบ้านภาคอีสาน  หรือ ภาคตะวนออกเฉียงเหนือของไทย  แบ่งได้เป็น  2  กลุ่มวัฒนธรรมใหญ่ ๆ คือ  กลุ่มอีสานเหนือ  มีวัฒนธรรมไทยลาวซึ่งมักเรียกการละเล่นว่า  “เซิ้ง   ฟ้อน  และหมอลำ”  เช่น  เซิ้งบังไฟ  เซิ้งสวิง  ฟ้อนภูไท  ลำกลอนเกี้ยว  ลำเต้ย  ซึ่งใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้านประกอบ  ได้แก่ แคน พิณ ซอ กลองยาว อีสาน ฉิ่ง ฉาบ ฆ้อง และกรับ  ภายหลังเพิ่มเติมโปงลางและโหวดเข้ามาด้วย  ส่วนกลุ่มอีสานใต้ได้รับอิทธิพลไทยเขมร   มีการละเล่นที่เรียกว่า  เรือม  หรือ เร็อม  เช่น  เรือมลูดอันเร  หรือรำกระทบสาก  รำกระเน็บติงต็อง  หรือระบำตั๊กแตน ตำข้าว  รำอาไย  หรือรำตัด  หรือเพลงอีแซวแบบภาคกลางวงดนตรี  ที่ใช้บรรเลง คือ  วงมโหรีอีสานใต้ มีเครื่องดนตรี  คือ  ซอด้วง  ซอด้วง  ซอครัวเอก  กลองกันตรึม  พิณ  ระนาด  เอกไม้  ปี่สไล  กลองรำมะนาและเครื่องประกอบจังหวะ การแต่งกายประกอบการแสดงเป็นไปตามวัฒนธรรมของพื้นบ้าน ลักษณะท่ารำและท่วงทำนองดนตรีในการแสดงค่อนข้างกระชับ รวดเร็ว และสนุกสนาน
               4.4  การแสดงพื้นเมืองภาคใต้  เป็นศิลปะการรำและการละเล่นของชาวพื้นบ้านภาคใต้อาจแบ่งตามกลุ่มวัฒนธรรมไ  2  กลุ่มคือ  วัฒนธรรมไทยพุทธ  ได้แก่  การแสดงโนรา  หนังตะลุง  เพลงบอก  เพลงนา  และวัฒนธรรมไทยมุสลิม  ได้แก่  รองเง็ง  ซำแปง  มะโย่ง  (การแสดงละคร)  ลิเกฮูลู  (คล้ายลิเกภาคกลาง)  และซิละ  มีเครื่องดนตรีประกอบที่สำคัญ  เช่น  กลองโนรา  กลองโพน  กลองปืด   โทน  ทับ  กรับพวง  โหม่ง  ปี่กาหลอ  ปี่ไหน  รำมะนา  ไวโอลิน  อัคคอร์เดียน  ภายหลังได้มีระบำที่ปรับปรุงจากกิจกรรมในวิถีชีวิต  ศิลปาต่างๆ เข่น ระบำร่อนแต่  การีดยาง  ปาเตต๊ะ  เป็นต้น กลับด้านบน
ดนตรีเพลงและการขับร้องเพลงไทยสำหรับประกอบการแสดง
       ดนตรีเพลง  และการขับร้องเพลงไทยสำหรับประกอบการแสดง  สามารถแบ่งได้เป็น 2  กลุ่ม  คือ  ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงนาฎศิลป์ไทย และเพลงไทยสำหรบประกอบการแสดงนาฎศิลป์ไทย และเพลงไทยสำหรับประกอบการแสดงนาฎศิลป์ไทย
        1.ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงนาฎศิลป์ไทย  ประกอบด้วย
1.1 ดนตรีประกอบการแสดงโขน-ละคร
             วงดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงโขนและละครของไทย  คือ  วงปี่พาทย์  ซึ่งมีขนาดของวงเป็นแบบวงประเภทใดนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของการแสดงนั้นๆ ด้วย  เช่น  การแสดงโขนนั่งราวใช้วงปี่พาทย์เครื่อง  ห้า  2  วง  การแสดงละครในอาจใช้วงปี่พาทย์เครื่องคู่  หรือการแสดงละครดึกดำบรรพ์ต้องใช้วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์  เป็นต้น
1.2  ดนตรีประกอบการแสดงรำและระบำมาตรฐาน
              การแสดงรำและระบำที่เป็นชุดการแสดงที่เรียกว่า  รำมาตรฐานและระบำมาตรฐานนั้น  เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง  จะใช้วงปี่พาทย์บรรเลง  อามีการนำเครื่องดนตรีบางชนิดเข้ามาประกอบตามลักษณะควมจำเป็นของการแสดง  เช่น  ระบำกฤดาภินิหาร  อาจนำเครื่องดนตรี  ขิมหรือซอด้วง  ม้าล่อ  กลองต้อก  และกลองแต๋ว  มาบรรเลงในช่วงท้ายของการรำที่เป็นเพลงเชิดจีนก็ได้
1.3  ดนตรีประกอบการแสดงพื้นเมือง ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงพื้นเมืองภาคต่างๆ ของไทยจะเป็นวงดนตรีพื้นบ้าน ซึ่งนับเป็นเอกลักษณ์ที่มีคุณค่าของแต่ละภูมิภาค ได้แก่
           1. ดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือ  มีเครื่องดนตรี  เข่น  พิณเปี๊ยะ  ซึง  สะล้อ  ปี่แน  ปี่กลาง ปี่ก้อย  ปี่ตัด  ปี่เล็ก  ป้าดไม้  (ระนาดไม้)  ปาดเหล็ก (ระนาดดอกเหล็ก) ป้าดฆ้อง  (ฆ้องวงใหญ่) ฆ้องหุ้ย ฆ้องเหม่ง กลองหลวง กลองแดว กลองปูเจ่ กลองปูจา กลองสะบัดไชย  กลองมองเชิง  กลองเต่งทิ้ง  กลองม่านและกลองตะโล้ดโปด  เมื่อนำมารวมเป็นวง จะได้วงต่างๆ คือ  วงสะล้อ  ซอ  ซึง  วงปูเจ่  วงกลองแอว  วงกลองม่าน  วงปี่จุม  วงเต่งทิ้ง  วงกลองปูจาและวงกลองสะบัดไชย
           2. ดนตรีพื้นเมืองภาคกลาง  เป็นเครื่องดนตรีประเภทเดียวกับวงดนตรีหลักของไทยคือ  วงปี่ทาทย์และเครื่องสาย  ซึ่งลักษณะในการนำมาใช้อาจนำมาเป็นบางส่วนหรือบางประเภท เช่น  กลองตะโพน  และเครื่องประกอบจังหวะนำมาใช้ในการเล่นเพลงอีแซว  เพลงเกี่ยวข้าว  กลอง  รำมะนาใช้เล่นเพลงรำตัด  กลองยาวใช้เล่นรำเถิดเทิง  กลองโทนใช้เล่นรำวงและรำโทน  ส่วนเครื่องเดินทำนองก็นิยาใช้ระนาด  ซอ  หรือปี่  เป็นต้น
           3.  ดนตรีพื้นเมืองภาคอีสาน  มีเครื่องดนตรีที่สำคัญ  ได้แก่  พิณ  อาจเรียกต่างกันไปตาท้องถิ่น  เช่น  ซุง  หมากจับปี่  หมากตับเต่ง  และหมากต๊ดโต่ง  ซอ  โปงลาง  แคน  โหวด  กลองยาวอีสาน  กลองกันตรึม  ซอกันตรึม  ซอด้วง  ซอตรัวเอก  ปิ่อ้อ  ปี่เตรียง  ปี่สไล  เมื่อนำมาประสมวงแล้วจะได้วงดนตรีพื้นเมือง  คือ  วงโปงลาง  วงแคน  วงมโหรีอีสานใต้  วงทุ่มโหม่ง  และวงเจรียงเมริน
           4.  ดนตรีพื้นเมืองภาคใต้  มีเครื่องดนตรีที่สำคัญ  ได้แก่  กลองโนรา  (กลองชาตรีหรือกลองตุ๊ก)  กลองโพน  กลองปืด  กลองทับ  โทน  รำมะนา  โหม่ง  (ฆ้องคู่)  ปีกาหลอ  ปี่ไหน  กรับพวงภาคใต้(แกระ)  และนำเครื่องดนตรีสากลเข้ามาผสม  ได้แก่  ไวโอลิน  กีตาร์  เบนโจ  อัคคอร์เดียน  ลูกแซ็ก  ส่วนการประสมวงนั้น  เป็นการประสมวงตามประเภทของการแสดงแต่ละชนิด
        2. เพลงไทยสำหรับประกอบการแสดงนาฎศิลป์ไทย
2.1 เพลงไทยประกอบการแสดงโขน  ละคร  รำ  และระบำมาตรฐาน
           เพลงไทยที่ใช้บรรเลงและขับร้องประกอบการแสดงนาฎศิลป์ไทย  โขน ละคร  รำ  และระบำที่เป็นมาตรฐานนั้น  แบ่งได้เป็น  2  ประเภทดังนี้
           1.  เพลงหน้าพาทย์   ได้แก่  เพลงที่ใช้บรรเลงหรือขับร้องประกอบอากัปกิริยาของตัวโขน  ละคร  เช่น  การเดินทาง  ยกทัพ  สู้รับ  แปลงกาย  และเพลงหน้าพาทย์ที่ใช้ในการรำและระบำ  เช่น  รัว  โคมเวียน  ชำนาญ  ตระบองกัน  เป็นต้น
           2.  เพลงขับร้องรับส่ง  คือ  เพลงไทยที่นำมาบรรจุไว้ในบทโขน-ละคร  อาจนำมาจากเพลงตับ  เพลงเถา  หรือเพลงเกร็ด  เพื่อบรรเลงขับร้องประกอบการรำบทหรือใช้บทของตัวโขน  ละคร  หรือเป็นบทขับ้องในเพลงสำหรับการรำและระบำ  เช่น  เพลงช้าปี่ เพลงขึ้นพลับพลา  เพลงนกกระจอกทอง  เพลงลมพัดชายเขา  เพลงเวสสุกรรม  เพลงแขกตะเขิ่ง  เพลงแขกเจ้าเซ็น  เป็นต้น
2.2  เพลงไทยประกอบการแสดงพื้นเมือง  เพลงไทยที่ใช้ประกอบการแสดงนำศิลป์พื้นเมือง เป็นบทเพลงพื้นบ้านที่ใช้บรรเลงแลละขับร้องประกอบการแสดงนาฎศิลป์พื้นเมือง  โดยแบ่งออกตามภูมิภาคได้ดังนี้
           1.  เพลงบรรเลงและขับร้องประกอบนาฎศิลป์พื้นเมืองภาคเหนือ  เพลงบรรเลงประกอบการฟ้อนเล็บ ได้แก่ เพลงแหย่งหลวง ฟ้อนเทียน  เพลงลาวเสี่ยงเทียน  ฟ้อนสาวไหม  ได้แก่  เพลงปราสาทไหวและเพลงลาวสมเด็จ  ระบำซอ  ได้แก่  ทำนองซอยิ๊และซอจ๊อยเชียงแสน  บรรเลง  เพลงลาวจ้อย  ต้อยตลิ่งและลาวกระแช  เป็นต้น
           2.  เพลงบรรเลงและขับร้อง  แระกอบนาฎศิลป์พื้นเมืองภาคกลาง  เพลงบรรเลงประกอบการเล่นเต้นกำรำเคียว  ได้แก่ เพลงระบำชาวนา  เป็นต้น
           3.  เพลงบรรเลงและขับร้องประกอบนาฎศิลป์พื้นเมืองภาคใต้  เพลงบรรเลงประกอบการแสดงลิเกป่า  นิยมใช้เพลงประกอบการแสดงเซิ้งโป่งลาง  บรรเลงเพลงลายโป่งลาง  เซิ้งภูไท  บรรเลงลายลำภูไทย  เป็นต้น
           4.  เพลงบรรเลงและขับร้องประกอบนาฎศิลป์พื้นเมืองภาคใต้  เพลงบรรเลงประกอบการแสดงลิเกป่า  นิยมใช้เพลงตะลุ่มโปง  เพลงสร้อยสน  เพลงดอกดิน  การแสดงชุดรองเง็ง  บรรเลงเพลงลาฆูดูวอ  เพลงมะอีนังลามา  เพลงลานัง   เป็นต้น
สุนทรียภาพทางดนตรี – นาฏศิลป์
    สุนทรียภาพทางความงามของนาฎศิลป์นั้นประกอบด้วยคุณลักษณะที่ดี 5 ประการคือ ตัวละครสวยงาม ท่ารำสวยงาม ขับร้องเพราะ ดนตรีที่ใช้ในการบรรเลงประกอบการแสดงเพราะ บทกลอนเพราะ และรูปแบบสื่อความหมายโดยเฉพาะท่าทางที่เลียนแบบธรรมชาติ เมื่อมนุษย์ต้องการสื่อความหมายให้เข้าใจ ที่เรียกว่า"ภาษาท่า" เช่น กวักมือเข้า หมายถึง เรียกให้มาหา โบกมือออก เรียกว่า ให้ออกไป เป็นต้น ท่าทางที่เลียนแบบธรรมชาตินี้อาจ จำแนกออกเป็น 3 ประเภท คือ
     1. ท่าทางที่ใช้แทนคำพูด เช่น ปฏิเสธ เรียก ไป มา ฯลฯ
     2. ท่าแสดงกิริยาอาการหรืออิริยาบถ เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน ฯลฯ
     3. ท่าที่แสดงอารมณ์ภายใน เช่น รัก โกรธ ดีใจ เสียใจ ฯลฯ
      ในการร่ายรำท่าต่างๆดังที่กล่าวมานี้ ได้นำมาประกอบบทร้อง เพลงและดนตรี  เพื่อต้องการให้เกิดความสวยงามและสง่างามของ ลีลา ท่ารำ โดยอาศัยความงาม ทางศิลปะเข้าช่วย วิธีการใช้ท่าทางประกอบบทร้อง บทพาทย์ และเพลงประกอบดนตรีนี้ทางนาฎศิลป์ เรียกว่า การตีบทหรือการรำบท หรือจะเรียกว่า "ภาษานาฎศิลป์" ก็ได้
  สุนทรียภาพของการแสดงนาฏศิลป์
 สุนทรียภาพ หมายถึง ความงามในธรรมชาติ หรือในงานศิลปะที่แต่ละคนสามารถเข้าใจและรู้สึกได้ ดังนั้น สุนทรียภาพของการแสดงนาฏศิลป์จึงเป็นความเข้าใจและรู้สึกถึงความงามของการแสดงนาฏศิลป์นั้น ๆ
การศึกษาด้านสุนทรียภาพของการแสดงนาฏศิลป์ไทยเป็นการศึกษาและพิจารณาความงามหรือสนุทรียะ มี 3 ด้าน คือ
1.                 สุนทรียะทางวรรณกรรม เป็นสุนทรียะด้านความงามทางตัวอักษร หรืองานประพันธ์ ได้แก่ ประเภทร้อยกรอง เช่น การแต่งคำประพันธ์ สุนทรียะประเภทร้อยกรองนี้จะมีศิลปะในการใช้ถ้อยคำที่ก่อให้เกิดการโน้มน้าวความรู้สึกในแง่ของคติสอนใจต่าง ๆ เช่น สุภาษิต คำพังเพย
2.  สุนทรียะทางดนตรี – ขับร้อง เป็นสุนทรียะด้านการรับฟัง และขับร้อง เช่น ขับร้อง เพลงประกอบการแสดงนาฏศิลป์
            3.   สุนทรียะทางด้านท่ารำสุนทรียะทั้ง  3 ด้าน  ของการแสดงจึงมีความสำคัญต่อการแสดง  เช่น  ผู้แสดง การฟ้อนรำ  จะมีลีลา
ที่อ่อนช้อย สวยงามจะต้องอาศัยผู้บรรเลงดนตรี ผู้ขับร้องประกอบในการแสดง และมีผู้ชมผู้ฟังจึงทำให้เกิดสุนทรียภาพทางท่ารำได้อย่างกลมกลืนต่อเนื่อง และสอดคล้องกันได้ดี จนเกิดเป็นความงามทางนาฏศิลป์ที่ทำให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกเข้าใจและซาบซึ้งได้
สุนทรียภาพทางดนตรี – นาฏศิลป์
สุนทรียภาพทางความงามของนาฏศิลป์นั้นประกอบด้วยคุณลักษณะที่ดี 5 ประการคือ ตัวละครสวยงาม ท่ารำสวยงาม ขับร้องเพราะ ดนตรีที่ใช้ในการบรรเลงประกอบการแสดงเพราะ บทกลอนเพราะ และรูปแบบสื่อความหมายโดยเฉพาะท่าทางที่เลียนแบบธรรมชาติ เมื่อมนุษย์ต้องการสื่อความหมายให้เข้าใจ ที่เรียกว่า"ภาษาท่า" เช่น กวักมือเข้า หมายถึง เรียกให้มาหา โบกมือออก เรียกว่า ให้ออกไป เป็นต้น ท่าทางที่เลียนแบบธรรมชาตินี้อาจ จำแนกออกเป็น 3 ประเภท คือ
     1. ท่าทางที่ใช้แทนคำพูด เช่น ปฏิเสธ เรียก ไป มา ฯลฯ
     2. ท่าแสดงกิริยาอาการหรืออิริยาบถ เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน ฯลฯ
     3. ท่าที่แสดงอารมณ์ภายใน เช่น รัก โกรธ ดีใจ เสียใจ ฯลฯ
           ในการร่ายรำท่าต่างๆดังที่กล่าวมานี้ ได้นำมาประกอบบทร้อง เพลงและดนตรี  เพื่อต้องการให้เกิดความสวยงามและสง่างามของ ลีลา ท่ารำ โดยอาศัยความงาม ทางศิลปะเข้าช่วย วิธีการใช้ท่าทางประกอบบทร้อง บทพาทย์ และเพลงประกอบดนตรีนี้ทางนาฏศิลป์ เรียกว่า การตีบทหรือการรำบท หรือจะเรียกว่า "ภาษานาฏศิลป์" ก็ได้
วัตถุประสงค์ในการเรียนดนตรี - นาฏศิลป์
ผู้เรียนจะมีจิตใจงดงาม มีสุนทรียภาพ รักความสวยงาม ความเป็นระเบียบ รับรู้อย่างพินิจพิเคราะห์ เห็นคุณค่าความสำคัญของศิลปวัฒนธรรมอันเป็นมรดกทางภูมิปัญญาของคนในชาติ สามารถค้นพบศักยภาพความสนใจของตนเองอันเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อหรือประกอบอาชีพทางศิลปะ มีจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ มีความเชื่อมั่นพัฒนาตนเองได้และแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ มีสมาธิในการทำงาน มีระเบียบวินัย ความรับผิดชอบ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
แนวทางการประยุกต์ใช้ความรู้ทางดนตรี - นาฏศิลป์
ดนตรี - นาฏศิลป์กับชีวิตประจำวัน
               พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในบทละครพูดสลับลำ เรื่องหนามยอกเอาหนามบ่ง ศิลปะนั้นไม่ว่าแขนงใด ย่อมมีความสำคัญทั้งนั้น ผู้ที่ขาดการศึกษาจะไม่ทราบว่าศิลปะ สำคัญฯต่อมนุษย์เพียงใด กวีและปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ของโลกหลายคน เห็นคุณค่าของศิลปะอย่างยิ่ง และเกิดความบันดาลใจจนต้องแสดงออกมาทางดนตรีและการแสดงท่าทาง "เช็คสเปียร์" กวีเอกชาวอังกฤษ ได้กล่าวถึงศิลปะการดนตรีและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแปลเป็นไทยว่าดังนี้
"ชนใดไม่มีดนตรีกาล ในสันดาลเป็นคนชอบกลนัก
อีกใครฟังดนตรีไม่เห็นเพราะ เขานั้นเหมาะคิดกกบฏอัปลักษณ์
หรืออุบายมุ่งร้ายฉมังนัก มโนหนักมืดมัวเหมือนราตรี
และดวงใจย่อมดำสกปรก ราวนรกชนเช่นกล่าวมานี่"
ศิลปะกับชีวิต ทำให้นำศิลปะมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน มีความสามารถในการปฏิบัติงาน มีความรับผิดชอบ มีคุณธรรม จริยธรรม และมีวินัยในตนเอง เห็นคุณค่าความสำคัญของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสามารถสร้างสรรค์ผลงานตามความถนัด นำไปใช้ในชีวิตประจำวันและสังคม
ดนตรี - นาฏศิลป์ กับการบูรณาการ (กับวิชาอื่น ๆ)
การสอนในปัจจุบันมีวิธีการที่แตกต่างกับสมัยก่อน กล่าวคือ ในสมัยก่อนครูผู้สอนแต่ละวิชามักจะให้เด็กเรียนเนื้อหาวิชาที่ตนสอนตามที่มีในบทเรียนเท่านั้น ครูไม่ค่อยคำนึงถึงวิชาอื่นๆ  ว่าจะมีวิชาอะไรที่เกี่ยวข้องกับวิชาที่ตนสอนอยู่บ้าง แต่ปัจจุบันจะเห็นได้ว่าครูมีวิธีการสอน แบบสหสัมพันธ์ (Correlation) คือการสอนโดยรวมวิชาที่คล้ายๆกันเข้าด้วยกัน แล้วดำเนินการสอนให้วิชาต่างๆสัมพันธ์กัน วิชานาฏศิลป์มีส่วนเข้าไปมีบทบาทกับวิชาอื่นๆได้มากและมีความสัมพันธ์ที่กลมกลืนและมีคุณค่าอย่างยิ่ง
                เนื่องจากนาฏศิลป์เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ และเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันในหลายๆด้าน เช่น วิชานาฏศิลป์บูรณาการกับวิชาภาษาไทย โดยการนำบทเพลง บทละครมาโยงใช้เพื่อให้เกิดความซาบซึ้ง เช่น นำการแสดงละครเรื่องอภัยมณี ตอนหนีนางผีเสื้อสมุทร มาใช้บูรณาการในบทเรียนที่เกี่ยวกับสุนทรภู่ เป็นต้น
                วิชานาฏศิลป์กับวิชาสังคมศึกษา ให้ประโยชน์ในทางอบรมจิตใจเกี่ยวกับจริยศึกษา การแสดงละครช่วยให้เด็กเข้าใจความหมายของขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ที่ปรากฎอยู่ในการแสดงละครไทยหรือต่างชาติ เป็นต้น
                การนำวิชาดนตรี - นาฏศิลป์ มาบูรณาการกับวิชาอื่นๆ ทำให้เด็กมีส่วนร่วมในการแสดงละครจากบทบาทสมมติตามที่ครูกำหนด จากเนื้อหาของบทเรียน การแสดงทำให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเอง เกิดการจดจำ และสมมตินั้นมาแก้ไข ทำให้เด็กเกิดการพัฒนาการ เกิดทักษะอย่างกว้างขวาง เด็กจะสามารถร่วมกับครู วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์และหาข้อสรุป ในวิชานั้นๆ ได้ดี การสอนให้นาฏศิลป์มีความสัมพันธ์กับการศึกษาวิชาอื่น ๆ สามารถทำได้ทุกวิชา



นาฏศิลป์ไทย
การละเล่นพื้นเมืองภาคต่างๆ

 
การละเล่นพื้นเมืองภาคอิสาน           การละเล่นพิ้นเมืองภาคเหนือ                






                                                                                                         





                                                                                                               

ใบความรู้
เรื่อง  นาฏศิลป์ สุนทรียะทางนาฏศิลป์
 นาฏศิลป์ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า


    [ที่มา :: http://gotoknow.org/blog/seksan1...1/124474]
                ประวัตินาฏศิลป์พม่าที่มีหลักฐานแน่นอน ภายหลัง พ.ศ. 2310 คือ หลังจากกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ 2 พม่าได้รับอิทธิพลนาฏศิลป์ไปจากไทย ก่อนหน้านี้ นาฏศิลป์ของพม่าเป็นของพื้นเมืองมากกว่าที่จะได้รับอิทธิพลมาจากภายนอกประเทศ เหมือนกับประเทศอื่นๆ  นาฏศิลป์พม่าเริ่มต้นจากพิธีทางศาสนา ต่อมาเมื่อพม่ามีการติดต่อกับอินเดียและจีน ท่าร่ายรำของ 2 ชาติดังกล่าว ก็จะมีอิทธิพลแทรกซึมในนาฏศิลป์พื้นเมืองของพม่า  แต่ท่าร่ายรำของเดิมมีความเป็นเอกลักษณ์ของพม่าจริงๆ
              นาฏศิลป์การละครในประเทศพม่า มีลักษณะพิเศษ คือ ในแต่ละยุคสมัยลักษณะนาฏศิลป์และการละคร จะแตกต่างกันออกไปตามอิทธิพลภายนอกที่ได้รับ ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 ยุค คือ

     1. ยุคก่อนรับนับถือพระพุทธศาสนา
     เป็นยุคของการนับถือผี  การฟ้อนรำเป็นไปในการทรงเจ้าเข้าผี  บูชาผีและบรรพบุรุษที่ตายไปแล้ว ต่อมาก็มีการฟ้อนรำในงานพิธีต่างๆ เช่น โกนจุก

   2. ยุคนับถือศาสนาพุทธ
          พม่ารับนับถือศาสนาพุทธหลังปี พ.ศ. 1559  ในสมัยนี้การฟ้อนรำเพื่อบูชาผีก็ยังมีอยู่ และการฟ้อนรำกลายเป็นส่วนหนึ่งของการบูชาในพุทธศาสนาด้วย
          หลังปี พ.ศ. 1800 เกิดมีการละครแบบหนึ่ง เรียกว่า "นิพัทขิ่น" เป็นละครเร่ แสดงเรื่อง พุทธประวัติเพื่อเผยแพร่ความรู้ในพุทธศาสนา เพื่อให้ชาวบ้านเข้าใจเรื่องราวได้ง่าย  ต่อมาเพื่อให้ความสนุกสนานจึงได้เพิ่มบทตลกให้มากขึ้น บทตลกนี้ไม่มีเขียนไว้ ผู้แสดงต้องหามุขแทรกเอาเอง  ตัวตลกนั้นมีทั้งหญิงและชาย มักจะเป็นสาวใช้ คนใช้ คนสนิทของตัวเอก  ต่อมาบทของเทวทัตต์ก็กลายเป็นบทตลกไปด้วย
     ละครนิพัทขิ่น มักจะแสดงเรื่องพุทธประวัติ ตอนตรัสรู้ เพราะไม่นิยมแสดงบทบาทของพระพุทธเจ้า หรือพระสาวกองค์สำคัญ
     ต่อมาพม่าได้รับอิทธิพลของอินเดียโดยผ่านทางเขมร ละครนิทัทขิ่นจึงแสดงเรื่องอื่นๆ เช่น รามายณะ เทพนิยายต่างๆ และเหตุการณ์ในราชสำนัก
     3. ยุคอิทธิพลละครไทย
     หลังการเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าในปี พ.ศ. 2310 ชาวไทยก็ถูกกวาดต้อนไปเป็นจำนวนมาก พวกละครและดนตรี ถูกนำไปไว้ในราชสำนัก เกิดความนิยมละครแบบไทยขึ้น จึงถือเป็นเครื่องประดับราชสำนัก  นิยมให้เด็กพม่าหัดละครไทย ละครแบบพม่าในยุคนี้เรียกว่า "โยธยาสัตคยี" หรือละครแบบโยธยา ท่ารำ ดนตรี และเรื่องที่แสดงรวมทั้งภาษาที่ใช้ก็เป็นของไทย  มีการแสดงอยู่ 2 เรื่อง คือ รามเกียรติ์ เล่นแบบโขน  และอิเหนา เล่นแบบละครใน
     ในปี พ.ศ. 2328 เมียวดี ข้าราชการพม่า ได้คิดละครแบบใหม่ขึ้น ชื่อเรื่อง "อีนอง" ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับอิเหนามาก  มีสิ่งที่แปลกออกไปคือตัวละคร ตัวละครของเรื่องนี้ มีลักษณะเป็นมนุษย์ธรรมดาสามัญที่มีกิเลส มีความดีความชั่ว ละครเรื่องนี้เป็นแรงบันดาลใจให้เกิดละครในแนวนี้อีกหลายเรื่อง
     ต่อมา ละครในราชสำนักเสื่อมความนิยมลง เมื่อกลายเป็นของชาวบ้านก็ค่อยๆ เสื่อมลง แต่ละครแบบนิพัทขิ่นกลับเฟื่องฟูขึ้น แต่ก็ลดมาตรฐานลงจนกลายเป็นจำอวด
      เมื่อประเทศพม่าตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษแล้ว ในปี พ.ศ. 2428 ละครหลวงและละครพื้นเมืองซบเซา  ต่อมามีการละครที่นำแบบอย่างมาจากอังกฤษเข้าแทนที่  ถึงสมัย ปัจจุบันนี้ละครของเก่าคู่บ้านคู่เมืองของพม่าจึงหาชมได้ยาก

  http://www.banramthai.com/html/burma.html


นาฏศิลป์กัมพูชา

                                           
                                                                      ที่มาภาพ
             นาฏศิลป์กัมพูชามีหลักฐานปรากฏตั้งแต่สมัยก่อนพระนคร (ค.ศ. ๕๔๐-๘๐๐) แล้ว เช่น รูปปั้นดินเหนียวสมัยนครบุรี (Angkorborei) เป็นรูปบุคคลร่ายรำ และจารึกที่กล่าวถึง "คนรำ" เป็นภาษาเขมร ในจารึกสมัยพระนคร (ค.ศ. ๘๒๕-ราวคริสต์ศตวรรษที่ ๑๔)  พบคำสันสกฤต "ภาณิ" ซึ่งหมายถึงการแสดงเล่าเรื่อง และหากดูภาพสลักจำนวนมากในปราสาทหินทั้งหลายแหล่ขอม  ไม่ต้องสงสัยเลยว่าในอาณาจักรขอมมีการร่ายรำ การแสดง เป็นเรื่องปรกติธรรมดาสำหรับการบันเทิงในราชสำนักและประชาชน

            ในจารึกที่กล่าวถึงข้าพระที่ประจำศาสนสถานนั้นมักมี "คนรำ" ประจำอยู่ด้วย นาฏศิลป์กัมพูชาโบราณน่าจะได้รับอิทธิพลอินเดียเป็นพื้น

                                       
                                                                             ที่มาภาพ
                    นาฏศิลป์กัมพูชาน่าจะสืบต่อและพัฒนามาจนรุ่งโรจน์ไม่แพ้ศิลปวิทยาการด้านอื่นๆ ในสมัยพระนคร และน่าจะมีอิทธิพลไม่น้อยต่ออยุธยาหลังจากที่มีการตีเมืองพระนครแตกและกวาดต้อนผู้คนมาสู่กรุงศรีอยุธยา จำนวนหนึ่งในผู้คนเหล่านั้นน่าจะมีนักรำอยู่ด้วย
                 หลักฐานทางภาษาอย่างหนึ่งก็คือไทยรับคำ "รำ" ในภาษาเขมรมาแทนที่คำ "ฟ้อน" ที่เดิมใช้ในภาษาไทย และไทยก็รับเอามาผสมผสานกับสิ่งที่มีอยู่เดิมและพัฒนานาฏศิลป์สืบเนื่องต่อจากนั้นและสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตนขึ้นมา และเมื่อมาถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ไทยก็ส่งคืนศิลปวิทยาการด้านนี้กลับสู่ประเทศราชกัมพูชา และกัมพูชาก็รับเอามาประยุกต์ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับตัวเองและสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน (ที่มาข้อมูล  www.bloggang.com )

                                                     
                                                                            ที่มาข้อมูล
               
   สมเด็จพระมหากษัตริยานีกุสุมะนารีรัตน์ พระราชมารดาของเจ้าสีหนุ พระนางทรงทำนุบำรุงการละครเขมรให้รุ่งเรือง พระนางจึงทรงเป็นพระมารดาแห่งนาฏศิลป์กัมพูชาก็ว่าได้  ระบำอัปสราเกิดขึ้นด้วยคุณูปการของพระนาง โดยนางอัปสราตัวเอกองค์แรกคือเจ้าหญิงบุพผาเทวี พระราชธิดาในเจ้าสีหนุ

ที่มาข้อมูล
              นครวัดเป็นอุดมคติแห่งชาติกัมพูชา นางอัปสราในนครวัดก็เป็นอุดมคติแห่งสตรีเขมร ดังนั้นการชุบชีวิตนางอัปสราออกมาเป็นระบำระดับชาตินั้นมีความหมายในเชิงชาติพันธุ์นิยม เพื่อให้เข้าถึงสัญลักษณ์สูงสุดแห่งสตรีแขมร์ ระบำอัปสรามีชื่อเสียงขึ้นมาด้วยการอิงบนความยิ่งใหญ่ของนครวัด และระบำอัปสราก็จำลองภาพสลักที่แน่นิ่งไร้ความเคลื่อนไหวในนครวัดให้หลุดออกมามีชีวิต
สอดคล้องมาตรฐานสาระการเรียนรู้ศิลปะ
        มาตรฐาน ศ ๑.๒   เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างทัศนศิลป์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่างานทัศนศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และสากล
        มาตรฐาน ศ ๒.๒ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรี ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของดนตรี ที่ เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล
       มาตรฐาน ศ ๓.๒  เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล

คำถามสานต่อความคิด
       -  เรื่องราวเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมในกัมพูชา มีประเด็นใดที่ให้ความสนใจศึกษาเพิ่มเติม
       -  เราจะมีวิธีการเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม โบราณสถาน ให้ลึกซึ้งได้อย่างไร
       -  ปัจจัยใดที่ทำให้ศิลปวัฒนธรรม ได้รับการถ่ายทอด องค์ความรู้ที่สืบต่อกันมา
       -  แนวทาง หรือ วิธีการใดที่จะทำให้ศิลปวัฒนธรรม ได้รับการธำรงไว้ซึ่งคุณค่าต่อไป
       -  ปัจจัยใดที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสังคม และศิลปวัฒนธรรม
       -  จำเป็นหรือไม่ที่เราต้อง ศึกษาเรียนรู้ ศิลปวัฒนธรรมต่างชาติ
       - ทิศทาง และลักษณะของเมืองจากปัจจุบัน ไปสู่อนาคตจะป็นเช่นไร  และเราต้องการให้เป็นเช่นไร
เชื่อมโยงในองค์ความรู้
          ภาษาไทย             การอ่าน   การเขียนเรียงความ
          สังคมฯ                 ศึกษาความเป็นมาของ ประวัติศาสตร์  การเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรม
                                     วิถีชีวิตความเป็นอยู่    ภูมิศาสตร์
          วิทยาศาสตร์         การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิประเทศ  สิ่งแวดล้อมรอบตัว

เพิ่มเติมเต็มกันและกัน
            - จัดกิจกรรมทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกสถานศึกษา
           -  เชิญวิทยากร ผู้เชี่ยวชาญให้ความรู้
           -  แนะนำแหล่งศึกษาเรียนให้นักเรียนศึกษาเพิ่มเติม
           -   นำภาพโบราณสถานของกัมพูชามาให้นักเรียนได้มีโอกาสเห็น
           -  จัดกิจกรรมการแสดงละครบทบาทสมมุติ ละครอิงประวัติศาสตร์
           -  ศึกษาการเปลี่ยนแปลงวิถีทางสังคม ที่มีผลต่อวิถีชีวิตและศิลปวัฒนธรรม
           -  จัดแสดงนิทรรศการ นำเสนอผลงาน
           -  ศึกษา รับชม รับฟัง การแสดงนาฏศิลป์กัมพูชา      
                     
อ้างอิงข้อมูล
 http://photos4.hi5.com
http://mblog.manager.co.th/
http://baannapleangthai.com
www.oknation.net
http://photos1.hi5.com
http://gotoknow.org


   นาฏศิลป์ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี
     นาฏศิลป์เกาหลีเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงในราวศตวรรษที่ 3 นาฏศิลป์เกาหลีในสมัยโบราณใช้แสดงในพิธีทางศาสนา เพื่อบวงสรวงเทพยดาอารักษ์ จัดแสดงปีละ 2 ครั้ง คือ ในเดือนพฤษภาคมซึ่งเป็นฤดูหว่าน และในเดือนตุลาคมฤดูเก็บเกี่ยว
     วิวัฒนาการของนาฏศิลป์เกาหลีก็ทำนองเดียวกับของชาติอื่น มักจะเริ่มและดัดแปลงให้เป็นระบำปลุกใจในสงคราม เพื่อให้กำลังใจแก่นักรบ หรือไม่ก็เป็นพิธีทางพุทธศาสนา หรือเป็นการร้องรำทำเพลงในหมู่ชนชั้นกรรมาชีพ หรือแสดงเป็นหมู่  นาฏศิลป์ในราชสำนักก็มีมาแต่โบราณกาลเช่นเดียวกัน
     นาฏศิลป์เกาหลีสมบูรณ์ตามแบบฉบับทางการละครที่สุดและเป็นพิธีรีตอง ได้แก่ ละครสวมหน้ากาก  นาฏศิลป์เกาหลีสมัยใหม่ พัฒนามาจากนาฏศิลป์ที่ใช้ในพิธีเลี้ยงต้อนรับอาคันตุกะชั้นผู้ดีและมั่งคั่ง
     นาฏศิลป์เกาหลี มีลีลาอันงดงามอ่อนช้อยอยู่ที่การเคลื่อนไหวไหล่และเอวเป็นส่วนสำคัญ ตามหลักทฤษฎีนาฎศิลป์เกาหลี มี 2 แบบ คือ
1.  แบบแสดงออกซึ่งความรื่นเริง ความโอบอ้อมอารี และความอ่อนไหวของอารมณ์
2.  แบบพิธีการ ดัดแปลงมาจากวัฒนธรรมและประเพณีทางพุทธศาสนา
     จุดเด่นของนาฏศิลป์เกาหลี มีลักษณะคล้ายนาฏศิลป์สเปน คือผู้แสดงเคลื่อนไหวทั้งส่วนบนและส่วนล่างของร่างกาย
เป็นการผสมผสานระหว่างนาฏศิลป์ตะวันตกและนาฏศิลป์ตะวันออกเข้าด้วยกัน  ซึ่งนาฏศิลป์ตะวันตกเน้นหนักในการใช้ขาและร่างกายส่วนล่าง แต่นาฏศิลป์ตะวันออกจะใช้ส่วนไหล่ แขน และมือ
     โรงเรียนนาฏศิลป์เกาหลีสมัยปัจจุบัน จะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1.  โรงเรียนนาฏศิลป์แผนโบราณ ซึ่งไม่ยอมรับอิทธิพลอื่นใดนอกจากจะรักษาแบบฉบับเดิมไว้
2.  โรงเรียนนาฏศิลป์สมัยใหม่ จะรับเอาแบบอย่างของนาฏศิลป์ตะวันตกเข้ามารวมด้วย ซึ่งได้รับความนิยมมากกว่าแบบโบราณ
     เป็นที่ยอมรับว่า ยอดนิยมของนาฏศิลป์เกาหลีนั้น ได้แก่ นาฏศิลป์ของพระแสดงการต่อต้านศาสนา ผู้แสดงจะสวมเสื้อคลุมของพระ ลีลาการร่ายรำนั้นงามน่าดูมาก แสดงออกซึ่งความต้องการของมนุษย์
     นาฏศิลป์เกาหลีที่ควรรู้จัก ได้แก่
1.  ละครสวมหน้ากาก เนื้อเรื่องมักคล้ายคลึงกัน ลีลาการแสดงนั้นนำเอานาฏศิลป์แบบต่างๆ มาปะติดปะต่อกัน
2.  ระบำแม่มดก็เป็นนาฏศิลป์อีกแบบหนึ่ง และการร้องรำทำเพลงประเภทลูกทุ่งนั้นก็มีชีวิตชีวาอย่างยิ่ง
3.  ระบำบวงสรวงในพิธีและระบำประกอบดนตรีที่ใช้ในพิธีเลี้ยงต้อนรับในราชสำนัก ซึ่งประกอบด้วยบรรยากาศอันงดงามตระการตาน่าชมมาก
นาฏศิลป์อินโดนีเซีย


ที่มา  http://www.maesariang.com/indonesia/6.php

ศิลปะการแสดงของอินโดนีเซีย
             ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หากมองเรื่องของนาฏศิลป์และศิลปะการแสดงแล้ว อินโดนีเซียเป็นประเทศหนึ่งที่มีวัฒนธรรมทางการแสดงอันเก่าแก่และมีลักษณะโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของตนโดยมีพื้นฐานของวัฒนธรรมมุสลิมและฮินดูปรากฏอยู่เด่นชัดในศิลปะการแสดงของอินโดนีเซียศิลปะการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์เด่นชัดของอินโดนีเซียและยังคงเป็นศิลปะประจำชาติที่เก่าแก่ที่สุดก็คือ ศิลปะการเชิดหนังหรือเชิดหุ่นภาษาชวาเรียกว่า “วายัง” (Wayang)หรือเรียกเต็มชื่อว่า”วายัง ปูร์วา”( Wayang Purwa) “วายัง”แปลว่า “เงา” ส่วน”ปูร์วา”แปลว่า”ความเก่าแก่”รวมกันจึงหมายถึงความเก่าแก่แห่งศิลปะการเชิดตัวหุ่นที่ทำจากหนังให้เกิดเป็นภาพเงาบนจอผ้า ในปัจจุบันคำว่าวายังมีความหมายทั่วไปว่า”การแสดง”
        1.ความเป็นมาของวายัง      นักวิชาการมีความเห็นแตกต่างกัน3แนวทางคือ
                 กลุ่มแรก  ยืนยันว่าวายังเป็นศิลปะการแสดงของท้องถิ่นชวามาแต่โบราณ มีกำเนิดบนเกาะชวาเนื่องมาจากประเพณีของคนท้องถิ่นซึ่งนับถือสิ่งศักด์สิทธิ์และบูชาบรรพบุรุษนั่นเอง หลักฐานที่ใช้สนับสนุนของกลุ่มนี้มีหลายประการ กล่าวคือ ภาษาและคำศัพท์เฉพาะทางเทคนิคการแสดงเป็นภาษาชวาโบราณ ประเพณีการชมละครวายังที่เก่าแก่ยังคงเห็นปฏิบัติกันอยู่ทั่วไป กล่าวคือ บริเวณที่นั่งของผู้ชมฝ่ายชายอยู่คนละด้านของฝ่ายหญิง ผู้ชมฝ่ายชายนิยมนั่งด้านเดียวกับผู้เชิดหนังเพราะเป็นด้านที่ชมการแสดงได้สนุกกว่าด้านที่เห็นเงา ฝ่ายหญิงถูกกำหนดที่นั่งให้อยู่ด้านตรงข้ามกับผู้ชายเหตุผลอีกประการหนึ่งคือ วายังเป็นการแสดงที่แปลกแตกต่างและโดดเด่นจากการแสดงอื่นๆ ทั้งหมดในเอเชียจึงน่าจะเชื่อได้ว่าศิลปะการแสดงวายังเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมของอินโดนีเซียอย่างแท้จริง

             กลุ่มที่สอง เชื่อว่าศิลปะการเชิดหนังนี้ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย เพราะอินเดียมีการแสดงเชิดหนังและเชิดหุ่นมาตั้งแต่สมัยโบราณ วัฒนธรรมอินเดียเจริญและเก่าแก่กว่าชวา ประวัติศาสตร์ยุคโบราณของชวาได้เห็นการแผ่ขยายอารยธรรมอินเดียเป็นระยะเวลาหลายร้อยปี ด้วยเหตุนี้ ชวาจึงน่าที่จะเป็นฝ่ายรับการแสดงวายังจากอินเดีย นอกจากนี้ตัวละครตลกในวายังของชวาที่ชื่อ ซีมาร์
( Semar) มีลักษณะที่ละม้ายคล้ายคลึงกับตัวตลกอินเดีย ที่ปรากฏในละครสันสกฤตอันโด่งดังของอินเดียสมัยคริสต์ศตวรรษที่3-8
             กลุ่มที่สาม สนับสนุนความคิดที่ว่า การเชิดหนังและหุ่นชนิดต่างๆน่าที่มาจากประเทศจีนเพราะชนชาติจีนรู้จักศิลปะประเภทนี้มานานกว่า2000ปีแล้วโดยมีหลักฐานบันทึกเรื่องราวใน121 ปีก่อนคริสต์ศักราชว่า จักรพรรดิองค์หนึ่งในราชวงค์ฮั่นทรงโปรดให้ทำพิธีเข้าทรงเรียกวิญญาณนางสนมคนโปรดของพระองค์ การทำพิธีเช่นนี้อาศัยเทคนิคการเชิดหนังนั่นเอง
แม้ไม่มีข้อยุติที่แน่ชัดว่า จริงๆแล้ววายังของชวามาจากไหน และได้รับอิทธิพลจากจีนหรืออินเดียวหรือไม่ก็ตาม แต่สิ่งที่น่าจะสันนิษฐานได้ก็คือ ในสังคมแบบชาวเกาะซึ่งนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในธรรมชาติ และมีประเพณีบูชาบรรพบุรุษเช่นเดียวกับสังคมโบราณในประเทศเอเชียทั้งหลายการแสดงเชิดหนังและเชิดหุ่นกระบอกเป็นศิลปะที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติอยู่แล้วในสิ่งแวดล้อมของสังคมดังกล่าวความสัมพันธ์ของวายังกันพิธีกรรมทางศาสนาย่อมแยกกันไม่ออก เงาต่างๆที่เกิดขึ้นเปรียบเสมือนดวงวิญญาณของบรรพบุรุษที่ศิลปินผู้เชิดบันดาลให้เกิดขึ้น คนโบราณนิยมประกอบพิธีเรียกวิญญาณบรรพบุรุษในงานมงคลต่างๆ เช่น งานแต่งงาน เพื่อนให้วิญญาณของบรรพบุรุษได้มารับรู้เป็นสักขีพยานการแสดงวายังจึงเป็นศิลปะการแสดงที่มีวามขลังและศักดิ์สิทธิ์ดุจพิธีกรรมทางศาสนา การทำพิธีนี้เป็นที่ยอมรับในสังคม การเชิดหนังวายังจึงถูกนำมาใช้โดยบุคคลสำคัญซึ่งทำตนเป็นสื่อกลางรับจ้างอัญเชิญวิญญาณ รวมทั้งการแสดงเรื่องราวที่เกี่ยวกับปรัชญาและศีลธรรมอีกด้วย มีผู้สันนิษฐานว่าคำว่า “วายัง” มีวิวัฒนาการมาจากคำเก่าของชวา คือ “วาห์โย” ซึ่งแปลว่า การปรากฏให้เห็นซึ่งการดลใจทางวิญญาณ
ต่อเมื่ออารยธรรมฮินดูเข้ามาสู่เกาะชวาแล้วนั้น วายังจึงได้พัฒนาเป็นศิลปะการแสดงที่แท้จริงได้รับการปรับปรุงจนเป็นศิลปะชั้นสูง มีบันทึกในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่าในคริสต์ศตวรรษที่ 11 วายัง ปูร์วาเป็นการแสดงที่แพร่หลายมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในราชวังต่างๆ บนเกาะชวา นอกจากนี้ วานวรรณกรรมราชสำนักสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 11 และ 12 ได้บันทึกเกี่ยวกับละครวายังว่าเป็นศิลปะการแสดงที่จับใจและสร้างความสะเทือนอารมณ์ได้อย่างดีเยี่ยม กษัตริย์หลายพระองค์ทรงอุปถัมภ์คณะละครวายัง บางพระองค์โปรดให้สร้างตัวหุ่นขึ้นใหม่ทั้งชุดเพื่อเก็บรักษาเป็นสมบัติของตระกูลวงศ์ศิลปินผู้เชิดหุ่นและพากย์บทบรรยายและบทเจรจาได้รับการดูแลอุปถัมภ์อย่างดีในฐานะศิลปินเอกประจำราชสำนัก กษัตริย์บางพระองค์ทรงสนพระทัยในศิลปะและเทคนิคการแสดงของผู้เชิดหนังถึงขนาดฝึกและออกแสดงด้วยพระองค์เอง แม้ว่าในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 และ 16 ชาวมุสลิมเข้ามาปกครองเกาะชวาแล้วก็ตาม แต่ความนิยมละครวายังมิได้เสื่อมลง เพียงแต่ย้ายศูนย์กลางความเจริญไปพร้อมกับการเปลี่ยนที่ตั้งของเมืองหลวงของผู้ปกครองมุสลิม และจนกระทั่งทุกวันนี้ละครวายังได้รบการยกย่องว่าเป็นศิลปะสำคัญประจำชาติของอินโดนีเซียที่เก่าแก่ที่สุด

[ที่มา :: http://www.maesariang.com/indonesia/6.php]

2.ชิดของวายัง
               การแสดงเชิดหุ่นเงาหรือวายัง ปูร์วาฉบับดั้งเดิมใช้หุ่นเชิดที่ทำด้วยหนังสัตว์ จึงเรียกอีกชื่อว่า “วายัง กูลิต” (Wayang Gulit) ซึ่งหมายถึง การเชิดหนังเพราะกูลิตแปลว่าหนังสัตว์ วายัง กูลิตนี้เป็นศิลปะการแสดงที่งดงามและวิจิตรกว่าการแสดงชนิดอื่นทั้งหมด การแสดงนี้รวมศิลปะหลายด้านไว้ด้วยกัน อาทิ ด้านการประพันธ์บทละคร การดนตรี นาฎกรรม ศิลปกรรม ทั้งยังสะท้อนความลึกซึ้งในเชิงประวัติศาสตร์ การศึกษา ปรัชญาศาสนาความลึกลับและสัญลักษญ์ในการตีความหมาย


[ที่มา :: http://www.maesariang.com/indonesia/6.php]

องค์ประกอบสำคัญของการแสดงวายัง กูลิต มีดังนี้
ตัวหนังหรือตัวหุ่นที่ใช้เชิดส่วนใหญ่แล้วตัวหนังวายัง กูลิต ทำจากหนังควาย ตัวหนังที่มีคุณภาพดีที่สุดต้องทำจากหนังลูกควาย เพราะสะอาดปราศจากไขมันจะทำให้สีที่ทาติดทนดี วิธีการทำตัวหนังนั้น จะต้องนำหนังลูกควายมาเจียน แล้วฉลุเป็นรูปร่างและลวดลาย ใบหน้าของตัวหนังหนด้านข้าง ลำตัวหัน
ลักษณะเฉียง ส่วนเท้าหันด้านข้างทิศทางเดียวกันกับใบหน้าของตัวหนัง ตวหนังมีความสูงประมาณ


ที่มา :: http://www.maesariang.com/indonesia/6.php
 http://www.maesariang.com/indonesia/6.php








         ใบความรู้
เรื่อง   ละครที่ได้รับวัฒนธรรมตะวันตก    

           ในสมัยรัชกาลที่ ๕ วัฒนธรรมทางนาฏศิลป์ของตะวันตกได้แพร่หลายเข้ามาในประเทศไทย ทำให้เกิดละครแบบต่างๆ ขึ้น เช่น ละครดึกดำบรรพ์ ที่กล่าวมาแล้ว แต่ละครดึกดำบรรพ์ ยังคงใช้ท่ารำของไทยเป็นหลัก ยังถือได้ว่าเป็นนาฏศิลป์ของไทยอย่างสมบูรณ์ ส่วนละครที่นำแบบของตะวันตกมาใช้จริงๆ ก็คือ ละครที่ไม่ใช้ท่ารำเลย ใช้แต่กิริยาท่าทางของคนธรรมดาสามัญที่เราปฏิบัติกันอยู่เท่านั้น เช่น ละครร้อง ละครพูด ละครพูดสลับลำ และละครสังคีต
ละครร้อง
           ละครร้อง เป็นแบบละครที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ทรงปรับปรุงขึ้น เป็นละครที่แสดงบนเวที เปลี่ยนฉากไปตามเนื้อเรื่อง ดำเนินเรื่องด้วยการร้องเท่านั้น ถ้อยคำที่ร้องมีทั้งบอกชื่อตัวละคร บอกกิริยา อารมณ์ของตัวละคร และเป็นคำพูดของตัวละคร
          วิธีแสดง ในตอนแรกผู้แสดงเป็นผู้หญิงล้วน แต่สมัยหลังๆ มา ให้มีผู้ชายเป็นตัวตลกได้ การแสดงบทบาทใช้ท่าของคนธรรมดาสามัญไม่มีการรำ การร้อง ถ้าเป็นบทบอกชื่อตัวละคร บอกกิริยาหรืออารมณ์ของตัวละคร ต้นเสียงกับลูกคู่เป็นผู้ร้อง ถ้าบทนั้นเป็นคำพูดของตัวละคร ผู้แสดงตัวนั้นจะต้องร้องเอง แต่การร้องของตัวละครนี้ ตัวละครจะร้องเฉพาะที่เป็นถ้อยคำเท่านั้น ส่วนการเอื้อนที่เป็นทำนองติดต่อนั้น ลูกคู่จะต้องร้องแทรกเข้ามาให้ การเจรจา เป็นการเจรจาทวนบท คือ พูดเป็นใจความเดียวกับบทที่ร้องไปแล้วโดยมาก แต่ก็มีเจรจาบทอื่นๆ  บ้าง จะเป็นการเจรจา อย่างไรก็ตาม ผู้แสดงจะต้องพูดด้วยปฏิภาณปัญญาของตนเอง   ดนตรี ใช้วงปี่พาทย์ไม้นวม บรรเลงประกอบบางกรณี บางทีก็มีหน้าพาทย์บ้าง เช่น โอด เพลงฉิ่ง กับบรรเลงเวลาปิดฉาก และจะต้องมีเครื่องดนตรีอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรเลงคลอเวลาร้องทุกๆ เพลงที่เคยใช้ บางทีก็ใช้ไวโอลิน บางทีก็ใช้ออร์แกน หรือซออู้    เรื่องที่แสดง เป็นเรื่องชีวิตของธรรมดาสามัญชนอย่างนวนิยาย เช่น เรื่องตุ๊กตายอดรัก ขวดแก้วเจียระไน เครือฟ้าของประเสริฐอักษร (พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์) เป็นต้น

             
          การแสดงละครร้องเรื่องสาวเครือฟ้า                    การแสดงละครร้องเรื่องสาวเครือฟ้า ตอนแรกพบในสวน
            ตอนร้อยตรีพร้อมลาสาวเครือฟ้า
ละครพูด
ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธสยามมกุฎราชกุมาร (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) ทรงสำเร็จการศึกษาจากยุโรป เสด็จกลับมาประทับ ณ พระราชวังสราญรมย์ ได้ทรงนำเอาแบบการแสดงละครของยุโรปมาแปลงให้เป็นการแสดงของไทยอย่างหนึ่ง ละครแบบนี้เรียกว่า ละครพูด  ละครพูด เป็นละครที่แสดงบนเวที เปลี่ยนฉากเป็นสถานที่ตามเนื้อเรื่อง  การแต่งตัว แต่งตามสภาพเป็นจริงของเรื่องการดำเนินเรื่อง ดำเนินด้วยคำพูด และการปฏิบัติของตัวละคร
การพูด ใช้คำพูดอย่างธรรมดาสามัญชน แต่อาจเน้นในอารมณ์บางอย่างให้เด่นขึ้น เพื่อให้ผู้ชมเข้าใจชัดเจน
กิริยาท่าทาง ใช้กิริยาท่าทางอย่างสามัญชน เรื่องที่แสดง เป็นเรื่องชีวิตของธรรมดาสามัญชนอย่างนวนิยาย เช่น พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๖ เรื่อง หัวใจนักรบ ชิงนาง เห็นแก่ลูก เป็นต้น ดนตรี ใช้วงปี่พาทย์ไม้นวมบรรเลงเวลาปิดฉากเท่านั้น
                                                 

                             เจ้าอยู่หัว พระผู้ทรงพระราชนิพนธ์บทละครพูดจำนวนมาก
ละครพูดสลับคำ
           เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๖  แห่งพระราชวงศ์จักรี พระองค์ก็ยังทรงโปรดการแสดงละครพูดอยู่ เมื่อทรงว่างพระราชกิจ ก็ทรงพระราชนิพนธ์บทละครพูดเรื่องต่างๆ และยังทรงวิวัฒนาการละครพูดให้เปลี่ยนแปรออกไปอีก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทร้องขึ้น ให้ร้องแทรกในการแสดงละครพูดบางตอน โดยไม่ตัดบทพูดใดๆ ในละครของเดิมออกเลย ในครั้งแรกทรงเรียกว่า "ละครพูดแกมลำ" ภายหลังจึงเรียกว่า "ละครพูดสลับลำ" ใจความของบทร้องไม่มีความสำคัญในการดำเนินเรื่องเลย หากตัดบทร้องออกก็คงเป็นละครพูดอย่างสมบูรณ์การแสดงละครพูดสลับลำทุกอย่าง สถานที่ คำพูด ท่าทาง และการแต่งตัว ตลอดจนลักษณะของเรื่องที่แสดง เหมือนละครพูดทั้งสิ้น    เว้นแต่บางตอน  ตัวละครจะต้องร้องเพลงไทยแทรกเข้ามา และแล้วก็แสดงเป็นละครพูดไปตามเดิม เช่น การแสดงละครพูดสลับลำเรื่อง ปล่อยแก่ ของนายบัว วิเศษกุล บทร้องพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๖ดนตรี ใช้วงปี่พาทย์ไม้นวม  บรรเลงนำ และคลอเวลาร้อง กับเวลาปิดฉาก


ละครสังคีต
           พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงปรับปรุงละครขึ้นอีกแบบหนึ่ง มีทั้งร้องเพลงและพูด ทั้งบทร้องและบทพูดมีความสำคัญในการดำเนินเรื่องด้วยกัน จะตัดอย่างหนึ่งอย่างใดออกไม่ได้ เนื้อเรื่องจะขาดตอนไป ละครแบบนี้ ทรงเรียกว่า "ละครสังคีต"วิธีแสดง ฉาก กิริยาท่าทาง การพูด และร้อง เหมือนกับละครพูดสลับลำ แต่ในการร้องอาจต้องใส่อารมณ์มากกว่าละครพูดสลับลำ และเพลงดนตรีอาจมีเพลงหน้าพาทย์ เช่น พญาเดินรัว แทรกด้วย ดนตรี ใช้วงปี่พาทย์ไม้นวม บรรเลงนำ และคลอเวลาร้อง กับบรรเลงเพลงหน้าพาทย์ (ถ้ามี) และเวลาปิดฉาก เรื่องที่แสดง เช่น พระราชนิพนธ์เรื่องมิกาโด วั่งตี่ วิวาหพระสมุทร และหนามยอกเอาหนามบ่ง  ละครแบบที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำมาและปรับปรุงเหล่านี้ สมัยก่อนผู้แสดงเป็นผู้ชายทั้งสิ้น ภายหลังจึงเปลี่ยนเป็นชายจริง หญิงแท้
          จะเห็นได้ว่าคำว่า "นาฏศิลป์" ซึ่งแต่เดิม หมายถึงการแสดงต่างๆ ที่ประกอบด้วยการรำ ไม่ว่าจะเป็นระบำหรือละครแบบใดนั้น ได้มีความหมายแผ่กว้างออกไปอีก เมื่อวัฒนธรรมตะวันตกได้แพร่เข้ามาในเมืองไทย อันทำให้เกิดมีละครที่ใช้กิริยาท่าทางอย่างสามัญชน ซึ่งไม่มีการรำเลย ดังนั้น การแสดงละครร้อง ละครพูด ละครพูดสลับลำ และละครสังคีต ที่ไม่มีการรำ แต่เป็นละครอีกแบบหนึ่ง ก็ต้องถือว่าเป็นนาฏศิลป์ด้วย
                                           
                    บาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแสดงละครพูด














ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น