ภาพกิจกรรม

ภาพกิจกรรม

วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ใบงานวิชาศิลปะศึกษา

แบบฝึกหัดที่ 1
เรื่อง    จุด เส้น สี แสง เงา รูปร่าง และรูปทรง

1.             ให้นักศึกษาบอกความรู้สึกที่มีต่อเส้นในลักษณะต่างๆ ดังนี้
1.1           เส้นตรงแนวตั้ง…………………………………………………………….
1.2           เส้นตรงแนวนอน………………………………………………………….
1.3           เส้นตรงแนวเฉียง…………………………………………………………..
1.4           เส้นติดกัน………………………………………………………………….
1.5           เส้นโค้ง…………………………………………………………………….
                      1.6 ให้ความรู้สึกอย่างไร
                        1.7  ให้ความรู้สึกอย่างไร
                       1.8ให้ความรู้สึกอย่างไร
                       1.9  ให้ความรู้สึกอย่างไร

1.10    ให้นักศึกษาสร้างงานศิลปะจากเส้นต่างๆ จำนวน 1 ภาพ
                    1.11 ให้นักศึกษา อธิบายว่าสีร้อน และสีเย็น หมายถึงอะไรและประกอบด้วยสีอะไรบ้าง
                     1.12   ให้นักศึกษาวาดรูปโดยใช้ดินสอไล่น้ำหนักของแสงเงา




 แบบฝึกหัดที่ 2
เรื่อง  สร้างสรรค์งานศิลปะและความงามตามธรรมชาติ

1.  จงบอกประเภทของงานประติมากรรม
ตอบ  1.  ประติมากรรมแบบนูนต่ำ   2.ประติมากรรมแบบนูนสูง  3.ประติมากรรมแบบลอยตัว
2.  เราสามารถแบ่งลักษณะงานของสถาปัตยกรรมออกได้เป็นกี่แขนง อะไรบ้าง พร้อมทั้งยกตัวอย่าง
ตอบ  เราสามารถแบ่งลักษณะงานของสถาปัตยกรรมออกได้เป็น 3 แขนง คือ  1.สถาปัตยกรรมออกแบบก่อสร้าง เช่น การออกแบบสร้างตึกอาคาร บ้านเรือน  2.ภูมิสถาปัตย์ เช่น การออกแบบวางผังเมือง จัดสวน  3.สถาปัตยกรรมผังเมือง เช่น การออกแบบบริเวณเมืองให้มีระเบียบ มีความสะอาด
3.  การวิเคราะห์งานศิลปะ หมายถึง
ตอบ  การพิจารณาแยกแยะศึกษาองค์รวมของงานศิลปะออกเป็นส่วน ๆ ทีละประเด็น ทั้งในด้านทัศนธาตุ องค์ประกอบศิลป์ และความสัมพันธ์ต่าง ๆ ในด้านเทคนิคกรรมวิธีการแสดงออก เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาประเมินผลงานศิลปะว่ามีคุณค่าทางด้านความงาม ทางด้านสะระ และทางด้านอารมณ์ความรู้สึกอย่างไร
4.  การวิจารณ์งานศิลปะ หมายถึง
ตอบ  การแสดงออกทางด้านความคิดเห็นต่อผลงานทางศิลปะที่ศิลปินสร้างสรรค์ขึ้นไว้ โดยผู้วิจารณ์ให้ความคิดเห็นคามหลักเกณฑ์และหลักการของศิลปะ ทั้งในด้านสุนทรียศาสตร์และสระอื่น ๆ ด้วยการติชมเพื่อให้ได้ข้อคิดนำไปปรับปรุงพัฒนาผลงานศิลปะ หรือใช้เป็นข้อมูลในการประเมินตัดสินผลงาน และเป็นการฝึกวิธีดู วิธีวิเคราะห์ คิดเปรียบเทียบให้เห็นคุณค่าในผลงานศิลปะชิ้นนั้น ๆ
5.  กลุ่มที่ยึดรูปธรรม (REALISTIC) หมายถึง
ตอบ  กลุ่มที่ยึดรูปแบบที่เป็นจริงในธรรมชาติมาเป็นหลักในการสร้างงานศิลปะ สร้างสรรค์ออกมาให้มีลักษณะคล้ายกับกล้องถ่ายภาพ หรือตัดทอนบางสิ่งออกเพียงเล็กน้อย ซึ่งกลุ่มนี้ได้พยายามแก้ปัญหาให้กับผู้ดูที่ไม่มีประสบการณ์ทางศิลปะ และสามารถสื่อความหมายระหว่างศิลปะกับผู้ดูได้ง่ายกว่าการสร้างสรรค์ผลงานในลักษณะอื่น ๆ

แบบฝึกหัดที่ 3
เรื่อง ธรรมชาติกับทัศนศิลป์

                คำสั่ง  ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มทำการศึกษาค้นคว้าและจัดทำชิ้นงาน/รายงาน ตามหัวข้อที่ครูกำหนด  กลุ่มละ 1 หัวข้อ ดังนี้
               
                กลุ่มที่ 1   ออกแบบเครื่องประดับจากวัสดุธรรมชาติที่ใช้ในการตกแต่งร่างกาย เช่น การออกแบบเสื้อผ้า เครื่องประดับ
                กลุ่มที่ 2  ออกแบบตกแต่งที่อยู่อาศัยภายในบ้าน เช่น ห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องกินข้าว ห้องครัว ห้องน้ำ โดยการวาดภาพหรือถ่ายภาพ หรือใช้วัสดุต่างๆ มาประดิษฐ์เป็นภาพ/ชิ้นงาน
                กลุ่มที่ 3  ออกแบบสำนักงาน ห้องทำงาน โดยการวาดภาพ หรือใช้วัสดุต่างๆ มาประดิษฐ์เป็นภาพ/ชิ้นงาน
                กลุ่มที่ 4   ออกแบบตกแต่งสวนภายในบ้าน โดยการวาดภาพหรือถ่ายภาพ หรือใช้วัสดุต่างๆ มาประดิษฐ์เป็นภาพ/ชิ้นงาน
                กลุ่มที่ 5  ออกแบบกล่องบรรจุภัณฑ์ โดยการวาดภาพหรือถ่ายภาพ หรือใช้วัสดุต่างๆ มาประดิษฐ์เป็นเป็นภาพ/ชิ้นงาน
                กลุ่มที่ 6   ออกแบบสวนสาธารณะ โดยการวาดภาพหรือถ่ายภาพหรือใช้วัสดุต่างๆ มาประดิษฐ์เป็นภาพ/ชิ้นงานแล้วนำเสนอผลงาน/ชิ้นงาน พร้อมทั้งคำอธิบายหรือคำวิจารณ์ตามหลักการทางทัศนศิลป์ หน้าชั้น กลุ่มละ 5-10 นาที

แบบฝึกหัดที่ 4
เรื่อง  คุณค่าของดนตรีกับการดำรงชีวิต   

คำสั่ง  ให้ผู้เรียนทำการศึกษา ค้นคว้าเพิ่มเติมในเรื่องต่อไปนี้

1.             เครื่องดนตรีไทย แบ่งออกเป็นกี่ประเภท  และมีประเภทอะไรบ้าง พร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบ             อย่างน้อยประเภท ละ3 ชนิด
2.             จงอธิบาย  ความแตกต่างระหว่างเครื่องดนตรีไทย และเครื่องดนตรีสากล มาพอเข้าใจ
3.             วงดนตรีสากลแบ่งออกเป็นกี่ประเภท  และมีประเภทใดบ้าง


แบบฝึกหัดที่ 5
เรื่อง ดนตรีสากลประเภทต่างๆ   ประวัติ ภูมิปัญญาทางดนตรีสากล

                คำสั่ง   ให้ผู้เรียนจัดทำรายงาน เรื่องดนตรีสากลประเภทต่างๆ  และประวัติภูมิปัญญาทางดนตรีสากล โดยกำหนดกรอบโครงร่างรายงาน ดังนี้ 
1.  ส่วนประกอบของรายงาน
1.1  ปก
1.2  คำนำ
1.3  สารบัญ
1.4  เนื้อ เรื่องดนตรีสากลประเภทต่างๆ และประวัติภูมิปัญญาทางดนตรีสากล พร้อมภาพประกอบ
1.5  ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ
1.6  เอกสารอ้างอิง
2.  จัดส่งรายงานส่งตามที่กำหนด


แบบฝึกหัด ที่ 6
เรื่อง  นาฏศิลป์ สุนทรียะทางนาฏศิลป์

                คำสั่ง  ให้ผู้เรียนตอบคำถามจากหัวข้อต่อไปนี้
              1. นาฎยนิยม หมายถึง
2. จงอธิบายความหมายของคำว่า ฟ้อนรำ 1 ดนตรี 1 ขับร้อง 1 หมายถึงอะไร
3. สุนทรียะ หมายถึง
4. รากฐานของการเกิดนาฎศิลป์ในรูปแบบของการฟ้อนรำมีการพัฒนามาจากด้านใดบ้าง


แบบฝึกหัด ที่ 7
เรื่อง  นาฏศิลป์ สุนทรียะทางนาฏศิลป์
คำสั่ง  ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มทำการศึกษาค้นคว้า ตามหัวข้อต่อไปนี้แล้วนำผลจากศึกษาค้นคว้ามาสรุปเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้  อย่างน้อย กลุ่มละ 15 นาที
กลุ่มที่ นาฎศิลป์ประเทศพม่า  
กลุ่มที่ 2  นาฎศิลป์ประเทศกัมพูชา
กลุ่มที่ นาฎศิลป์ประเทศมาเลเซีย
กลุ่มที่ นาฎศิลป์ประเทศเกาหลี
กลุ่มที่ นาฎศิลป์ประเทศอินโดนีเชีย


แบบฝึกหัด ที่ 8 
เรื่อง  นาฏศิลป์ สุนทรียะทางนาฏศิลป์
คำสั่ง  ให้นักศึกษาตอบคำถามในหัวข้อต่อไปนี้
1.             ละครสร้างสรรค์  หมายถึงอะไร
2.             กิจกรรมจูงใจ หมายถึงอะไร และมีกี่ประเภทอะไรบ้าง
3.             กิจกรรมการเตรียมทักษะละครของผู้นำกิจกรรมต้องทำอย่างไร
4.             กิจกรรมละครมีการจัดการอย่างไรอธิบายมาพอเข้าใจ
5.             จุดหมายของการทำละครสร้างสรรค์ต่างจากการสร้างละครเวทีอย่างไร
6.             จินตนาการ  คืออะไร
7.             ความคิดสร้างสรรค์ คืออะไร
8.             ละครสร้างสรรค์มีประโยชน์ในด้านใดบ้างอธิบายมาพอเข้าใจ

แบบฝึกหัดที่ 9
เรื่อง  นาฏศิลป์ สุนทรียะทางนาฏศิลป์
คำสั่ง  ให้นักศึกษาตอบคำถามในหัวข้อต่อไปนี้
1.             ละครร้องมีความแตกต่างจากละครพูดอย่างไร จงอธิบาย
2.             ละครสากลแบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
3.             ละครอิงนิยาย (Romance) เป็นละครประเภทใด
4.             จงบอกองค์ประกอบของละคร
5.             ให้ผู้เรียนอ่านเรื่อง”ปลาบู่ทอง” แล้ววิเคราะห์ วิจารณ์  ตามคำถามในข้อ 5.1 – 5.4

มีชายคนหนึ่งชื่อ นายทอง เป็นชาวบ้านเมื่อพาราณส์ มีภรรยา 2 คน ชื่อนางขนิษฐาและขนิษฐี นางชนิษฐาเป็นผู้มีจิตใจเมตตา อารี มีลูกสาวชื่อนางเอื้อย ซึ่งเป็นเด็กสาวที่มีจิตใจดีงาม ส่วนนางขนิษฐี มีจิตใจหยาบกระด้าง อิจฉาริษยา มีลูกสาวชื่ออ้ายกับอี ซึ่งมีจิตใจคล้ายกับแม่ มักจะกลั่นแกล้งลูกของนางขนิษฐาอยู่เสมอๆ
ต่อมานายทองออกไปจับปลา ได้ปลาบู่มาตัวหนึ่ง จึงให้นางขนิษฐาทำต้มยำปลา แต่ด้วยความเมตตานางจึงปล่อยปลาไป นายทองจึงบังคับให้นางขนิษฐาไปหาปลาแต่นางก็ประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตาม และด้วยความดีจึงเกิดเป็นปลาบู่ทอง เพื่อที่จะอยู่ใกล้ๆ ลูกคือนางเอื้อย ต่อมาก็โดนนางขนิษฐีทำลายและได้ไปเป็นต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทอง นางเอื้อยจึงมีโอกาสไปเฝ้าแม่ทุกวัน
ต่อมาพระเจ้าพรหมทัตผู้ครอบครองกรุงพาราณาสี เสด็จออกหัวเมืองก็พบกับต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทอง และมีความประสงค์จะนำปลูกที่ในวัง แต่ก็ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ นางขนิษฐีและนางอ้ายก็อ้างว่าเป็นเจ้าของต้นโพธิ์ แต่ก็ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ ต่อมานางเอื้อยก็ขอให้แม่ไปอยู่ในวังและตนเองก็ได้รับการยกย่องเป็นมเหสี นางขนิษฐีและลุกสาวเกิดความอิจฉา จึงไปบอกให้นางเอื้อยว่าพ่อเจ็บหนัก แล้ววางแผนให้นางเอื้อยเดินข้ามสะพานไม้ที่วางหลอกไว้จนเอื้อยตกม้าตายแล้วให้นางอ้ายไปเข้าวังแทน
เมื่อนางเอื้อยตายไปแล้วไปเกิดเป็นนกแขกเต้า และกลับเข้าวังไปตัดพ้อต่อพระเจ้าพรหมทัต พระเจ้าพรหมทัตทรงเอาใจใส่นกแขกเจ้ามาก จนนางอ้ายอิจฉาและคิดหาทางจำกัด
นกแขกเต้าหนีออกจากวังไปพบฤๅษีในป่า และชุบชีวิตให้กลายเป็นเอื้อยเหมือนเดิมและยังได้เสกลูกสาวของนางเอื้อยชื่อว่าลบ เพื่อเป็นเพื่อนคลายเหงาให้ด้วย
ต่อมานางลบสงสัยว่าใครเป็นพ่อ จึงไปตามแม่ นางเอื้อยจึงเล่าเรื่องราวต่างๆ ให้ฟังและนางเอื้อยได้ร้อยพวงมาลัยฝากไปถวายพระเจ้าพรหมทัตด้วย พระเจ้าพรหมทัตก็รู้ทันทีว่าเป็นฝีมือนางเอื้อย และได้ทราบเรื่องราวจากลบที่นางขนิษฐีและนางอ้ายก่อกรรมทำเข็ญไว้กับเอื้อย จึงสั่งประหารชีวิต แต่เอื้อยของพระราชทานอภัยโทษด้วย ให้ขับไล่ออกจากนอกวังและให้ถือศีลบำเพ็ญความดีตลอดชีวิต ส่วนนางเอื้อยก็อยู่กับต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทองอย่างมีความสุขตลอดไป
5.1  นางเอื้อยเป็นคนอย่างไร
5.2  นางขนิษฐา เป็นคนอย่างไร
5.3  ถ้าท่านจะเป็นบุคคลในเรื่อง จะเลือกเป็นใคร เพราะอะไร
5.4  ท่านอ่านแล้วได้ข้อคิดอะไรจากเรื่องนี้

  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น